วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สิ่งมหัศจรรย์ใต้น้ำ 1.ยูนิคอร์นแห่งอาร์กติก ( Unicorn of the Arctic Ocean )

 นาร์วาฬ ยูนิคอร์นแห่งมหาสมุทร

         
                          นาร์วาฬ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Narwhal  ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Monodon monoceros  ฉายา ยูนิคอร์นแห่งมหาสมุทรอาร์กติก (arctic unicorn)  จัดเป็นวาฬมีฟัน ขนาดกลาง  ซึ่งใช้ชีวิตตลอดทั้งปีที่บริเวณ อาร์กติก  เป็น 1 ใน 2 ของสปีชีส์ วาฬวงศ์ โมโนคอนติแด  เช่นเดียวกับ วาฬเบลูกา  นาร์วาฬ เพศผู้มีลักษณะที่โดดเด่น คือ มีงาที่ยาว ตรง  เป็นเกลียวที่ยื่นมาจากกรามบนด้านซ้าย ซึ่งที่จริงแล้ว คือ ฟันเพียงซี่เดียว ที่อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า มีไว้สำหรับทำอะไร เพราะ นาร์วาฬ ไม่ได้ใช้งาตรงนี้ในการขุดเจาะหาอาหาร หรือ ต่อสู้กันเอง 


             นาร์วาฬส่วนใหญ่ พบในบริเวณอาร์กติกของประเทศแคนาดา และเขตทะเลของประเทศกรีนแลนด์ อยู่ในบริเวณละติจูดที่ 65 องศาเหนือ ซึ่งพบหาได้ยาก  นาร์วาฬเป็นนักล่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเขตอาร์กติก มันหากินบริเวณพื้นใต้น้ำเป็นส่วนใหญ่ อาหาร ของนาร์วาฬ จะเป็น ปลาซีกเดียว  ที่ระดับความลึกถึง 1,500 เมตร ใต้ก้อนน้ำแข็งหนา

            ชาวอินูอิต อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของแคนาดา และกรีนแลนด์  ได้สืบทอดการล่านาร์วาฬเพื่อเอาเนื้อและงามากว่าพันปี  การล่าเป็นไปเพื่อยังชีพ แบบควบคุมยังคงดำเนินต่อไปจนถึงทุกวันนี้

            ในยุคกลาง งาของนาร์วาฬ ถูกขายในราคาที่สูงให้แก่เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง และถูกขนานนามว่า ยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล

             นาร์วาฬเป็นนักล่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเขตอาร์กติก มันหากินบริเวณพื้นใต้น้ำเป็นส่วนใหญ่ อาหาร ของนาร์วาฬ จะเป็น ปลาซีกเดียว  ที่ระดับความลึกถึง 1,500 เมตร ใต้ก้อนน้ำแข็งหนา

            ชาวอินูอิต อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของแคนาดา และกรีนแลนด์  ได้สืบทอดการล่านาร์วาฬเพื่อเอาเนื้อและงามากว่าพันปี  การล่าเป็นไปเพื่อยังชีพ แบบควบคุมยังคงดำเนินต่อไปจนถึงทุกวันนี้


             นาร์วาฬจะปรากฏตัวขึ้นทุกปีในหน้าร้อน เพื่ออพยพย้ายถิ่น โดยใช้เส้นทางรอยแยกของน้ำแข็ง ในการอพยพ  ปกตินาร์วาฬจะหาอาหารในทะเลน้ำลึก  บริเวณใจกลางอ่าวบาฟฟิน (Baffin Bay) แถบประเทศแคนาดา ในช่วงฤดูหนาว เป็นไปได้ว่าเมื่อถึงฤดูร้อนอาหารหาได้ยากขึ้น เหล่านาร์วาฬจึงต้องเดินทางกลับสู่ดินแดนทะเลน้ำแข็งอีกครั้งหนึ่ง

               ทีมงานแผนกธรรมชาติวิทยา บีบีซีแห่งอังกฤษ (BBC) บันทึกภาพถ่ายฝูง นาร์วาฬ (narwhal) หรือ ซึ่งกำลังแหวกว่ายอยู่ตามรอยแยกของน้ำแข็ง พวกมันเหมือนสัตว์ในเทพนิยายที่มีอยู่จริง  งายาวที่ยื่นออกจากปากของนาร์วาฬ บิดเป็นเกลียว มีความยาวมากกว่า 2 เมตร มองดูคล้ายเขาของยูนิคอร์น  นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า งาของมันใช้เป็นสิ่งดึงดูดเพศตรงข้ามในการผสมพันธุ์


            ถึงแม้เราผู้อยู่ห่างไกลกันสุดกู่จากนาร์วาฬ  เราก็ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและให้กำลังใจให้พวกมันอยู่คู่กับเราไปนานเท่านาน 


ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
นิตยสาร Go Genius  ปีที่ 4 ฉบับที่ 48  เมษายน  2552
วิกีพีเดีย



วิวัฒนาการโหราศาสตร์ของโลก บทที่ 5.6 เดโมคริตัส (Democritus)


                                                               6. เดโมคริตัส ( Democritus )  460 – 370 ปีก่อน ค.ศ.

                         เดโมคริตัส (Democritus) เป็นนักปรัชญาชาวกรีก ในราว 460 – 370 ปีก่อน ค.ศ.หรือ พ.ศ.83 – 173  ที่เมืองแอบเดรา  (Abdera)  ในแคว้นเธรส ( Thrace ) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของชายฝั่งทะเลอีเจียน เดโมคริตัส (Democritus) เป็นศิษย์ของผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาปรมาณูนิยม (The School Atomists ) ที่มีชื่อว่า ลีวซิพพุส (Leucippus) นักปรัชญาร่วมสมัยกับเขา คือ อาแนกซากอรัส (Anaxagoras) เดโมคริตัส (Democritus) ได้ใช้เวลาในการศึกษาโหราศาสตร์ในอียิปต์ เป็นเวลาถึง 7 ปี เขาได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้จำนวนมาก  และเขาเป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีปรมาณู (The  Atomic theory)  และระบบจักรวาลวิทยา (System of Cosmology)


                เดโมคริตัส (Democritus) เป็นนักปราชญ์รุ่นหลัง ของพีทากอรัส (Pythagoras) เขาเป็นผู้ที่ไขความลับเกี่ยวกับทางช้างเผือก (Milky  Way) ว่าเป็นดาวจำนวนมากที่อยู่รวมกันอย่างหนาแน่น โดยใช้หลักทฤษฎีอะตอม มาอธิบาย เช่น การเคลื่อนไหวของอะตอมในอวกาศ ทำให้เห็นดวงจันทร์ เพราะอะตอมของดวงจันทร์ ได้เข้ามาสัมผัสในตาของเขา จึงทำให้เขาเห็นเช่นนั้น

                เขาไม่เชื่อเรื่องวิญญาณ เขาเชื่อว่าสิ่งเดียวที่มีอยู่คือ อะตอมและช่องว่าง เพราะเขาไม่เชื่อในอะไร นอกจากสิ่งที่จับต้องได้ เขาจึงได้รับสมญาอีกอย่างว่า นักวัตถุนิยม ซึ่งเขาเชื่อว่า แม้แต่วิญญาณก็เกิดมาจากอะตอมวิญญาณ ที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายอะตอมนี้จะกระจัดกระจายไปทุกทิศทุกทาง และกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณดวงใหม่ ซึ่งหมายความว่ามนุษย์ไม่มีวิญญาณที่เป็นนิรันดร์ เดโมคริตัส (Democritus)   เชื่อว่า วิญญาณมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมอง ถ้าสมองเสื่อม มนุษย์ก็จะไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่ว่ารูปแบบใด

                 ทฤษฎีอะตอมของ เดโมคริตัส (Democritus) ถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคปรัชญาธรรมชาติกรีกในเวลานั้น เขาเห็นด้วยเฮราครีตัส ว่า ทุกสิ่งในธรรมชาติเลื่อนไหล เนื่องจากรูปแบบต่างๆเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไป แต่เบื้องหลังทุกอย่างที่เลื่อนไหลนั้น มีสิ่งที่เป็นนิรันดรและไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ อะตอม

                 เขากล่าวว่าปฐมธาตุไม่ใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่คือปรมาณู หรือ อะตอม ซึ่งเขาได้ความหมายของคำว่าปรมาณูไว้ว่า “ปรมาณูเป็นวัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดไม่สามารถจะแบ่งย่อยได้อีกแล้ว จึงหมายถึงของสิ่งเดียวกับ “อะตอมที่หมายถึงสิ่งที่ไม่อาจตัดแบ่งออกไปได้อีก

Milky way
                   ดังนั้นปรมาณูหรืออะตอม จึงได้แก่ชิ้นส่วนเล็กที่สุดของสสารที่เหลืออยู่ภายหลังการตัดแบ่งสสารชิ้นหนึ่ง ๆ ปรมาณูนั้นเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของสสาร มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เป็นวัตถุดิบสำหรับการสร้างโลก มันมีอยู่ก่อนหน้าการกำเนิดของโลก เพราะปรมาณูเกิดขึ้น สรรพสิ่งจึงเกิดขึ้น เพราะปรมาณูแยกตัวออกจากกัน สรรพสิ่งจึงแตกสลาย

                   การเกิดจึงเป็นเพียงการรวมตัวกันของปรมาณูที่นอนรออยู่แล้ว ส่วนการดับเป็นการแยกตัวของปรมาณู โดยนัยนี้ปรมาณูจึงมีอยู่ก่อนการเกิดโลกและจะคงอยู่ต่อไปหลังโลกแตกสลาย ปรมาณูไม่มีการเกิดดับ ปรมาณูไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ไม่มีวันถูกทำลาย ปรมาณูจึงเป็นความจริงแท้ของโลก ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกันกับภาวะ (Being) ของปาร์มีนิเดส   จะต่างกันก็ตรงที่ว่า ภาวะ เป็นมวลสารชิ้นเดียวขนาดมหึมาที่แผ่ติดกันเป็นผืดทั่วจักรวาล ส่วนปรมาณู ก็คือส่วนหนึ่งของภาวะ ที่ได้ถูกสับย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ด้วยเหตุนั้น สิ่งทั้งสองจึงมีลักษณะเช่นเดียวกัน คือ เป็นความแท้ที่คงที่ถาวรชั่วนิรันตร์

                    เดโมคริตัส (Democritus) คิดว่าการเคลื่อนไหวของอะตอมไม่ได้เป็นไปตาม แบบ ที่วางไว้ล่วงหน้าในธรรมชาติ ทุกอย่างเกิดขึ้นค่อนข้างเป็นกลไก นั่นไม่ได้หมายความว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างไม่มีกฎเกณฑ์ แต่เพราะทุกอย่างต่างเป็นไปตามกฎแห่งความจำเป็น   ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมีเหตุผลตามธรรมชาติที่ฝังอยู่ในสิ่งนั้นอยู่ก่อนแล้ว   ครั้งหนึ่งเดโมคริตัส (Democritus) ได้เคยกล่าวว่า เขาอยากเป็นผู้ค้นพบเหตุผลของธรรมชาติมากกว่าเป็นพระราชาแห่งเปอร์เซียเสียอีก

                    เดโมคริตัส (Democritus) คิดว่าทฤษฎีอะตอมของเขายังสามารถอธิบายเรื่องประสาทสัมผัสได้ด้วย จากการที่เรารู้สึกอะไรบางอย่างเป็นผลมากจากการเคลื่อนไหวของอะตอมในอวกาศ เขาเชื่อว่าแม้แต่วิญญาณก็เกิดมาจากอะตอมวิญญาณ ที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายอะตอมนี้จะกระจัดกระจายไปทุกทิศทุกทางและกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณดวงใหม่ ซึ่งหมายความว่า มนุษย์ไม่มีวิญญาณที่เป็นนิรันดร และเขาเป็นคนแรกที่ให้ความสำคัญ ต่อการให้ความพอใจแก่เวลา (time preference) โดยกล่าวว่า มนุษย์มักพอใจที่จะได้รับสิ่งของในปัจจุบันแทนที่จะเลื่อนไปรอรับในอนาคต เพราะเขาไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่จนแก่หรือไม่ ดังนั้น ของที่มีในมือเดี๋ยวนี้จะดีกว่าของที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต

the Ghost nebula

                    เดโมคริตัส (Democritus) ยังให้กำเนิดทฤษฎี มูลค่าที่เป็นอัตวิสัย (subjective value theory)   กล่าวว่าคุณค่าทางคุณธรรมและจริยธรรมจะต้องชัดเจนแน่นอน   แต่คุณค่าทางเศรษฐศาสตร์จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องของอัตวิสัย เช่นเดียวกับที่ว่า ความดีและความจริงจะต้องเหมือนกันหมดสำหรับทุกคน   แต่ความสุขอาจจะแตกต่างกันไปตามการให้คุณค่าของแต่ละบุคคล   ไม่แต่เฉพาะการให้คุณค่าจะเป็นอัตวิสัยเท่านั้น   ความเป็นประโยชน์ (usefulness) ของสิ่งของ อาจจะหมดความหมายหรือแม้กระทั่งเป็นลบ ถ้าหากอุปทานมีมากเกินขอบเขต โดยชี้ให้เห็นว่า ถ้าหากคนพยายามจำกัดอุปสงค์ของตนและลดความต้องการลง สิ่งของที่เขามีอยู่ในปัจจุบันจะทำให้เขารู้สึกมั่งคั่งขึ้นแทนที่จะรู้สึกว่ายากจนลง

                 ส่วนอีกแนวคิด เดโมคริตัส (Democritus) ได้วางแนวคิดในเรื่องทรัพย์สินส่วนบุคคล   ซึ่งพื้นฐานเศรษฐกิจทางสังคมของกรีกเป็นระบบทรัพย์สินส่วนบุคคลแบบเอเธนส์ ส่วนการมีทรัพย์สินร่วมกันของอภิชนเป็นแบบของสปาร์ตา ซึ่งเขาสรุปว่า ทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นรูปแบบการจัดการทางเศรษฐกิจทีดีกว่า ซึ่งตรงกันข้ามกับการให้ชุมชนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เนื่องจากรายได้จากทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมจะให้ความพึงพอใจแก่แต่ละบุคคลน้อยกว่า ทั้งการใช้จ่ายทรัพย์สินส่วนรวมก็ทำได้โดยไม่รู้สึกเดือดร้อน ความลำบากจากการทำงานจะเป็นความหวานชื่นมากกว่าความเกียจคร้าน  เมื่อคนรู้ว่าเขาได้รับผลตอบแทนจากหยาดเหงื่อของเขาและรู้ว่าจะใช้มันไปเพื่ออะไร  

                 เดโมคริตัส (Democritus) ได้สร้างผลงานชิ้นสำคัญไว้มากที่สุดคนหนึ่งกว่า 60 ชิ้น แต่ได้สูญหายไปเกือบหมด ที่ยังเหลือปรากฎอยู่ให้เราได้รู้จักถึงปัจจุบันเป็นเพียงเศษเสี้ยว ผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับวิชาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ อภิปรัชญา ฟิสิกส์ จริยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเขาได้รับสมญาว่า “เป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่” ในขณะนั้น

 
ขอบคุณแหล่งข้อมูล และภาพประกอบ

หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)
Wiki