วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการโหราศาสตร์ของโลก บทที่ 5.5 ฟีโลลาอุส (Philolaus)


                                                     5. ฟีโลลาอุส  ( Phillolaus )  480 – 385 ปีก่อนคริสศักราช

                    ฟีโลลาอุส ( Phillolaus ) เป็น นักคณิตศาสตร์แนวพีทากอรัส (Greek Pythagorean ) และเป็นนักปรัชญาก่อนยุคโซเครติส ( Pre-Socratic Philosopher ) เชื่อเรื่องการใช้เหตุผลและปฎิเสธสิ่งลี้ลับรวมถึงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเองโดยหาสาเหตุมิได้ จึงได้เกิดมีคำถามที่สำคัญขึ้น คือ
1.สิ่งต่างๆมาจากไหน
2.สิ่งต่างๆถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร
3.เราจะอธิยายสิ่งต่างๆจำนวนมากในธรรมชาติได้อย่างไร
4.เราอาจจะอธิบายธรรมชาติได้ด้วยคณิตศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง "แก่นสารของสิ่งต่างๆ"
        
                                                                

                          เขามีข้อโต้แย้งว่า  รากฐานของสรรพสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเล่น ทั้งที่มีขอบเขตและไร้ขอบเขต ซึ่งเป็นการหลอมรวมกันอย่างกลมกลืน และเขายังให้เครดิตกับต้นกำเนิด ทฤษฎีที่ว่า

“โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล”
                         ได้มีการบันทึกประวัติการเกิดของเขาอยู่หลายแห่ง ทั้งในโครทัน ( Croton) , ทาเรนทัม  ( Tarentum ) ,และ เมทาพอนทัม ( Metapontum ) โดยทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของ เมืองแมกน่า กราเซีย  (Magna Graecia)  (เป็นชื่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของอิตาลีบนอ่าว ทาเรนไทน์ (Tarentine ) ที่มีการแผ่ขยายอาณานิคมโดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวกรีก ) เป็นไปได้อย่างมากที่ว่า เขามาจาก โครทัน (Croton ) ซึ่งเขาอาจจะหนีมาจากการเผาที่ประชุมพีทาโกรัสครั้งที่สองราวปี 454 ก่อนคริสต์กาล หลังจากที่เขาอพยพเข้ามาในกรีก



                      ตามบทสนทนาของเพลโตที่ชื่อ Pheaedo (Plato's Phaedo) ได้ระบุไว้นั้น ซึ่งในขณะนั้นเพลโต เป็นอาจารย์ของ Simmias และ Cebes ที่กรุงธีบส์ (Thebes) ในปี 399 ก่อนคริสต์ศักราช ทำให้เขาได้อยู่ร่วมสมัยกับโสกราตีส และเห็นด้วยกับคำพูดของ ฟีโลลาอุส (Philolaus)  กับ เดโมเครตุส (Democritus) มีรายงานหลายฉบับเกี่ยวข้องกับชีวิตของเขากระจัดกระจายอยู่ตามงานเขียนต่างๆ
                  
                   นักเขียนรุ่นถัดมาได้มีการตั้งข้อสงสัยในการฟื้นฟูคุณค่าชีวิตของเขา ในช่วงเวลาที่เขามีชีวิตอยู่ ซึ่งมีบางส่วนปรากฎเห็นได้ชัดว่า บางครั้งที่ ฮรีราเครีย (Heraclea (Heraclea Island in the Aegean Sea, today called Iraklia or Irakleia)) เป็นที่เขาเคยเป็นนักเรียนของ สถาบันAreses หรือ Arcesus (ที่ Plutarchเรียก) บทสนทนา Laertius เป็นสิ่งเดียวที่ยืนยันว่า เพลโต (Plato) เคยเดินทางไปอิตาลีและได้พบกับ ฟีโลลาอุส (Philolaus) และอูไรทัส (Eurytus)
                    จากสิ่งที่ปรากฎพบว่า ลูกศิษย์ของ ฟีโลลาอุส (Philolaus) ได้กล่าวถึงคำพูดว่าต้องรวมถึง Xenophilus, Phanto, Echecrates,Diocles และ Polymnastus ด้วย ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่เพลโต (Plato) ตายได้ไม่นาน ในขณะที่ ฟีโลลาอุส(Philolaus) ตายนั้น บทสนทนา Laertius ถูกสงสัยว่าเรื่องราวที่เขาได้ถูกปลิดชีวิตจากพวกเผด็จการที่โครทัน(Croton) ซึ่งเป็นเรื่องราวในบทสนทนา Laertius ได้นำเอาปัญหานี้แรกอยู่ในบทกวีของเขาอีกด้วย
                     ฟีโลลาอุส (Philolaus)  ได้เสนอแนวความคิดว่า  ในอวกาศมีทิศทางที่คงที่ และได้พัฒนาแนวคิดอีกหนึ่งคือ โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล แนวคิดใหม่ของเขาค่อนข้างที่จะปฏิวัติสมมุติฐานทางดาราศาสตร์ ซึ่งเขาเรียกว่า “ศูนย์กลางแห่งไฟ “ ฟีโลลาอุส (Philolaus) ได้กล่าวว่า มีดวงไฟใหญ่อยู่ตรงกึ่งกลาง และมีไฟอยู่สูงที่สุดอีก และจากนั้นก็จะมีทุก ๆ อย่างล้อมรอบ โดยธรรมชาติ ตรงกลางคือจุดเริ่มต้น และรอบ ๆมันก็จะล้อมรอบไปด้วยวัตถุทั้ง 10 ในท้องฟ้า หรือ ดาวเคราะห์นั่นเอง
                 ดังนั้นเขาจึงเริ่มต้นนับ วัตถุทั้ง 10 ในท้องฟ้า ด้วยการเริ่มนับจาก  ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์  โลก และสิ่งที่สวนทางกับโลก  จากทั้งหมด  หัวใจของดวงไฟนั้นซึ่งอยู่กับที่ ที่ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง  จุดสูงสุดที่ถูกล้อมรอบคือธาตุทั้งหลาย ที่บริสุทธิ์ เขาเรียก โอลิมปัส ( Olympus)  ว่าอาณาเขตใต้เส้นวงโคจรของโอลิมปัส ( Olympus)   ก็คือ ดาวเคราะห์ทั้ง 5 รวมถึง ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ด้วย  ส่วนที่เรียกว่า โลก ก็คือส่วนที่อยู่ใต้โอลิมปัส ( Olympus) และอยู่ใต้ดวงจันทร์ และเขาเห็นว่ารอบ ๆ โลกนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลง ก็เลยเรียกว่า ท้องฟ้า ( Sky )
                        ในระบบทรงกลมฟ้าที่มีดาวฤกษ์ของ ฟีโลลาอุส ( Philolaus ) จะประกอบด้วยดาวเคราะห์ 5 ดวง รวมทั้ง อาทิตย์ จันทร์ และโลก ทั้งหมดเคลื่อนที่รอบดวงไฟใหญ่ ตามบทประพันธ์ของ อริสโตเติ้ล ชื่อ Metaphysics  ฟีโลลาอุส ( Philolaus ) ที่ได้เพิ่มดาวดวงที่ 10 ที่ยังไม่เคยเห็น ซึ่งเขาเรียกว่า Counter – Earth  และถ้าไม่มี Counter – Earth   ก็จะมีเทหวัตถุ 9 สิ่งโคจรอยู่  และตามทฤษฏีของพีทาโกรัส ซึ่งยังต้องการดวงที่ 10 อย่างไรก็ตาม   ตามที่นักวิชาการชาวกรีก ชื่อ จอร์จเบิร์ช ( George Burch )
                         อริสโตเติล ( Aristotle )ได้กล่าวถึงความคิดของ ฟีโลลาอุส (Philolaus ) ว่า  “ความจริงแล้ว ความคิดของฟีโลลาอุส ( Philolaus ) ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะรู้จักทรงกลมฟ้าเป็นร้อยๆ ปี หรือ เกือบสองพันปี “ หลังจากที่ นิโครัส โคเปอร์นิคัส ( Nicolaus Copernicus )  ได้ชี้ให้เห็นในหนังสือ  De revolutionibus  ว่า ฟีโลลาอุส ( Philolaus ) ได้รู้แล้วว่า โลกโคจรรอบดวงไฟใหญ่

                       กล่าวโดยสรุปคือ ฟีโลลาอุส (Philolaus) มีแนวความคิดว่า "โลกมีการโคจรรอบดวงไฟใหญ่ดวงหนึ่ง (แต่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์) และทำให้เห็นว่าวัตถุท้องฟ้าทั้งหลายมีการเคลื่อนที่ไปรอบๆ โลกและเป็นคาบที่แน่นอนในแต่ละวัน แต่เขาไม่สามารถตอบได้ว่า ดวงไฟใหญ่ที่ว่า นั้นคืออะไรและอยู่ที่ไหน ซึ่งในปัจจุบันนี้เราทราบกันดีแล้วว่า ปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าทั้งหลายในแต่ละวัน เป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก.



 ขอบคุณ แหล่งข้อมูล  และรูปภาพประกอบ
1.wikipedia 
2.หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย  อ.วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการโหราศาสตร์ของโลก บทที่ 5.4 เมทัน (Meton)


                                       4. เมทัน  แห่งกรุงเอเธนส์  (Meton of Athens) 452 ปีก่อนคริสศักราช

                      เมทัน  (Meton) เป็นบุคคลสำคัญในยุคกรีก เขาเป็นนักดาราศาสตร์  นักคณิตศาสตร์  นักเรขาคณิต และเป็นวิศวกร อาศัยอยู่ในกรุงเอเธนส์ ในสมัยศตวรรษที่ 5  เมทัน ( Meton) ได้ศึกษาหาความรู้และนำข้อมูลหลักโดยเฉพาะดาราศาสตร์ มาจากชาวคัลเดียน และชาวอียิปต์ เพื่อนำมาทำปฏิทิน  
                       ในปี 432 ก่อนค.ศ. เขาได้นำเสนอ วงรอบ 19 ปีของอาทิตย์กับจันทร์ (the lunisolar ) ที่เรียกว่า  เมโทนิค ไซเคิ้ล  ( Metonic cycle)  ในรูปแบบของ  ปฏิทินสุริยห้องใต้หลังคา 

                     เมทัน(Meton)ได้สังเกตเห็นว่าระยะเวลา 19 ปี สุริยคติที่เกือบจะเท่ากับ 235 เดือนจันทรคติ  (Synodic) และ ปัดเศษเต็มวันโดยนับได้ 6,940 วัน  ความแตกต่างระหว่างวงรอบทั้งสอง ( 19 ปีสุริยคติ และ 235 เดือนจันทรคติ ) ซึ่งต่างกันเพียง ไม่กี่ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความของคำว่า “ ปี “ (Year)

                    โดยพิจารณา 1 ปี เท่ากับ 1 / 19 ของวงรอบ 6,940 วัน ซึ่งเราจะได้จำนวนวันต่อหนึ่งปีเท่ากับ 365 + 1 / 4 + 1 /76 วัน  (ตัวเลขที่ไม่ปัดเศษจะให้ความแม่นยำมากกว่า) ซึ่งมันจะมากกว่า 12 เดือนจันทรคติเล็กน้อย เพื่อที่จะให้ 1 ปีสุริยคติมี 12 เดือนของจันทร์ จะต้อง มีเดือนที่ 13 (อธิกมาส)  โดยเพิ่มขึ้นมาอีก 7 เดือน ในวงรอบ 19 ปีสุริยคติ ( 235 =19 x12 +7 )  

                    เมื่อ เมทัน(Meton) ได้นำเสนอวงรอบนี้เมื่อ 432 ก่อน คริสต์กาล  นักดาราศาสตร์ชาวบาบิโลนได้รู้วงรอบนี้ก่อนหน้าเมทัน (Meton)แล้ว กลไกการคำนวณถูกสร้างขึ้นใน  Antikythera  mechanism

                    วงรอบเมโทนิค( Metonic cycle)  นี้ ถูกใช้ในปฏิทินของชาวบาบิโลน และ ระบบปฏิทินจีนโบราณ  (กฏของวงรอบ “ )  และ  the medieval  computes  (ยกตัวอย่าง การคำนวณวันของชาวตะวันออก ) ซึ่งมันเป็นวงรอบ 19 ปีปกติที่เพิ่มเดือน ( อธิกมาส ) ของปฏิทินชาวฮิบรู

                     รากฐานหอดูดาวเมทัน ในกรุงเอเธนส์  ยังคงปรากฏอยู่ด้านหลังเวที ของ Pnyx ซึ่งเป็นรัฐสภาโบราณ  เมทัน(Meton) ได้สังเกตดวงอาทิตย์ขณะขึ้นจากหอดูดาวของเขา ณ วันที่ จุดวิษุวัต ( equinoxes )และ จุดมายัน ( solstices ) 
                     เขาได้พบว่า ระหว่างช่วง ครีษมายัน  ดวงอาทิตย์ขึ้นในแนวเดียวกับภูเขา  Lycabetus ซึ่งเป็นภูเขาในท้องถิ่นแถวนั้น  ขณะที่ 6 เดือนต่อมา ในช่วงเหมายัน ดวงอาทิตย์ขึ้นเหนือไหล่เขา Hymettos ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของภูเขา Lycabetus



                      ดังนั้นจากหอดูดาวของ เมทัน (Meton) ปรากฏว่าดวงอาทิตย์ (sun) ได้เคลื่อนเป็นระยะทาง 60 องศา ระหว่างสองจุดนี้ บนเส้นขอบฟ้าทุก ๆ 6 เดือน ซึ่งจุดกึ่งกลางของเส้นโค้งวิษุวัต ของหอดูดาว อยู่ในแนวเดียวกันกับ เมืองโบราณ  Acropolis ซึ่งลักษณะภูมิประเทศเหล่านี้มีส่วนสำคัญ เพราะจุดครีษมายันเป็นจุดนับเวลาจากสมัยเอเธนส์ได้กำหนดเป็นจุดเริ่มต้นของปีปฏิทิน ซึ่งเดือนแรกของปีใหม่ เรียกว่า Hekatombaion เริ่มต้นพร้อมกับ อมาวสีแรก หลังจุดครีษมายัน

                      เมทัน (Meton) ได้ขึ้นบรรยาย ตัวละคร ในบทละครของ  Aristophanes เรื่อง The Birds ในปี 414 ก่อนคริสต์กาล เขาขึ้นบนเวทีโดยนำเครื่องมือสำรวจ และอธิบายถึง เรขาคณิต ซึ่งเรารู้จักเมทัน (Meton)ไม่มากนัก ผ่านบันทึกประวัติศาสตร์ ตามที่ปโตเลมี ได้บันทึกไว้ใน ตารางชื่อกลุ่มดาวที่สร้างขึ้นในกรุงเอเธนส์ ซึ่งเป็นบันทึกการสังเกตของเมทัน (Meton) และมีคำอธิบายขยายความของ Metonic cycle นอกจากนี้ไม่ปรากฏผลงานของเมทัน (Meton) เหลืออยู่เลย

                     ดังนั้นจาก หอดูดาวของ เมทัน( Meton)ปรากฏว่าดวงอาทิตย์ได้เคลื่อนเป็นระยะทาง 60 องศา ระหว่างสองจุดนี้ บนเส้นขอบฟ้าทุก ๆ 6 เดือน ซึ่งจุดกึ่งกลางของเส้นโค้งวิษุวัต ของหอดูดาว อยู่ในแนวเดียวกันกับ เมืองโบราณ  Acropolis ซึ่งลักษณะภูมิประเทศเหล่านี้มีส่วนสำคัญ เพราะจุดครีษมายันเป็นจุดนับเวลาจากสมัยเอเธนส์ได้กำหนดเป็นจุดเริ่มต้นของปีปฏิทิน ซึ่งเดือนแรกของปีใหม่ เรียกว่า Hekatombaion เริ่มต้นพร้อมกับ อมาวสีแรก หลังจุดครีษมายัน

                       เมทัน (Meton) ได้ขึ้นบรรยาย ตัวละคร ในบทละครของ  Aristophanes เรื่อง The Birds ในปี 414 ก่อนคริสต์กาล เขาขึ้นบนเวทีโดยนำเครื่องมือสำรวจ และอธิบายถึง เรขาคณิต ซึ่งเรารู้จักเมทัน (meton) ไม่มากนัก ผ่านบันทึกประวัติศาสตร์ ตามที่ปโตเลมี ได้บันทึกไว้ใน ตารางชื่อกลุ่มดาวที่สร้างขึ้นในกรุงเอเธนส์ ซึ่งเป็นบันทึกการสังเกตของเมทัน (Meton) และมีคำอธิบายขยายความของ Metonic cycle นอกจากนี้ไม่ปรากฏผลงานของเมทัน (Meton) เหลืออยู่เลย 

ขอบคุณ แหล่งข้อมูล และรูปภาพประกอบ
1.wikipedia
2.หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย  อ.วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการโหราศาสตร์ของโลก บทที่ 5.3 พีทาโกรัส (Pythagoras)


                                                  3. พีทาโกรัส (Pythagoras)  582 – 507 ปีก่อนคริสศักราช

           พีทาโกรัส (Pythagoras)   เกิดเมื่่อ 559 ก่อน คริสต์ศักราช ที่บนเกาะซาโมส (Samos) นอกชายฝั่งเอเชียไมเนอร์  กรีซ (ปัจจุบันเป็นประเทศตุรกี) เป็นบุตรชายของพีทาอิส และ เนซาร์คัส    พีทาโกรัส (Pythagoras)ได้ออกจากบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่ที่ โครทัน (Croton) ทางตอนใต้ของอิตาเลียน เพื่อที่จะหนีจากการถูกจับกุมจากรัฐบาลทรราชของ โพลีเครติส 

           จากข้อสันนิษฐาน คาดว่าก่อนทีพีทาโกรัส (Pythagoras)  จะถึงเมืองโครทัน (Croton) เขาได้ศึกษาหาความรู้จากนักปราชญ์ของชาวอียิปต์ และ ชาวบาบิโลน  และเมื่อเขาได้ย้ายถิ่นฐานจากซาโมส (Samos) มายังเมืองโครทัน (Croton) พีทาโกรัส (Pythagoras) ก็ได้ก่อตั้งสมาคมศาสนาลับขึ้น มีรูปแบบคล้ายคลึงกับลัทธิออร์เฟอัส ที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น


            ณ เมืองโครทัน (Croton)  พีทาโกรัส (Pythagoras)ได้จัดปฏิรูปวัฒนธรรมของชาวโครทัน (Croton) ขึ้นใหม่ โดยแนะให้ชาวเมืองทำตามจริยธรรมและสร้างกลุ่มสาวกของเขาขึ้นมา  จากนั้นก็ได้เปิดสถานศึกษาเป็นโรงเรียนของพีทาโกรัสเอง  ซึ่งเขาได้เปิดรับทั้งชายและหญิง แต่มีเงื่อนไขว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมจำเป็นต้องสละทรัพย์สิน และกินอยู่แบบมังสวิรัตที่โรงเรียน และเรียกตัวเองว่า “มาเทมาทิคอย” (Mathematikoi) ส่วนผู้คนอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงก็สามารถเข้าเรียนได้ และไม่จำเป็นต้องสละทรัพย์สิน หรือใช้ชีวิตแบบมังสวิรัต

                            พีทาโกรัส (Pythagoras) เป็นนักปราชญ์ชาวไอโอเนียน และ เป็นนักคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม เจ้าของทฤษฎีบทพีทาโกรัส  และเป็นคนแรกที่เสนอแนวความคิดว่า โลกมีสันฐานกลม  ซึ่งนับว่าเป็นก้าวใหญ่ก้าวหนึ่งของการพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับเอกภพ  ซึ่งแนวคิดในยุค 600 ปี ก่อนคริสต์กาลของนักปราชญ์เหล่านี้ ยังคงมีพื้นฐานอย่างเหนียวแน่นว่า โลกเป็นวัตถุที่หยุดนิ่งอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าทุกชนิดที่สังเกตเห็น เป็นการเคลื่อนที่แท้จริงของวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นทั้งสิ้น

                    พีทาโกรัส (Pythagoras)   ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งตัวเลข”  ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อคณิตศาสตร์ เขายังได้สร้างสรรค์ความคิดหลายอย่างให้กับ ปรัชญาและศาสนา  ในปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์กาล   ( มีเรื่องเล่ากันว่าพีทาโกรัส (Pythagoras)  ผู้ซึ่งบูชาตัวเลขดุจดั่งพระเจ้า ตกใจมากกับการค้นพบตัวเลขซึ่งไม่สามารถแทนได้ด้วยเศษส่วนนี้ จึ่งสั่งให้ลูกศิษย์เซ่นไหว้วัว 100 ตัวในการขอขมาที่ไปพบกับความลับของพระเจ้า )    สาวกของพีทาโกรัส  (Pythagoras)  ได้ชื่อว่าพวก  พีทาโกเรียน ” เป็นนักคณิตศาสตร์ และ นักปราชญ์ ที่บุกเบิกเรขาคณิต พวกพีทาโกเรียนยังมีความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด และ ความเชื่อว่าตัวเลขเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่ง   พวกเขาจะปฏิบัติพิธีกรรมล้างมลทิน  ปฏิบัติตามกฏการกินอาหาร และกฏอื่น ๆ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้พวกเขาเป็นอิสระจากวงจรการเกิดใหม่



                    พีทาโกรัส (Pythagoras)  ยังเชื่อในเรื่องความเสมอภาคของชายและหญิง เขาริเริ่มโรงเรียนของเขาพร้อมด้วยภรรยา ทีอาโน  (Theano) และหลังจากที่พีทาโกรัส (Pythagoras)  ได้เสียชีวิตไปแล้ว ทีอาโน (Theano) และลูก  ได้สืบทอดเจตนาถ่ายทอดความรู้ของพีทาโกรัส (Pythagoras) ในเวลาต่อมาที่โรงเรียนของพีทาโกรัส

            เหล่าพีทาโกเรียน  เขาจะปฏิบัติต่อทาสเป็นอย่างดี และสัตว์มีฐานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิญญาณ พวกพีทาโกเรียนยังเชื่ออีกว่า การชำระล้างวิญญาณที่สูงที่สุดคือ “ปรัชญา” หลายสิ่งที่พวกพีทาโกเรียนปฏิบัตินั้นเหมือนกันกับสิ่งที่พวกเจนไน ( Chennai  หรือ ทมิฬ  หรือ มัทราส (Madras) ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑุ ประเทศอินเดีย) ปฏิบัติ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านสันนิษฐานว่า พีทาโกรัส (Pythagoras)  องได้เคยศึกษาอยู่กับพวกเจนไนอินเดีย

        
  ขอบคุณ แหล่งข้อมูล 

  wikipedia
 หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย  อ.วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)

วิวัฒนาการโหราศาสตร์ของโลก บทที่ 5.2.แอแนกแซเกอเริส (Anaxagoras)

               2.  แอแนกแซเกอเริส  ( Anaxagoras )หรือ อาแนกซากอรัสราวปี 500 – 428 ปี ก่อนคริสศักราช 

                    แอแนกแซเกอเริส  ( Anaxagoras ) เป็นนักปรัชญาชาวกรีก เกิดที่ คลาโซเมแน (Clazomenae) ใน อานาโตเลีย  และเป็นนักปรัชญาคนแรกที่นำหลักปรัชญาจาก ไอโอเนีย มายัง เอเธนส์

     แอแนกแซเกอเริส  ( Anaxagoras )ให้แนวความคิดเกี่ยวกับการปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น การเกิดอุปราคา  สะเก็ดดาว รุ้งกินน้ำ และดวงอาทิตย์  ว่า 

                  “วัตถุท้องฟ้าเหล่านี้มีองค์ประกอบที่เหมือนกันกับองค์ประกอบของโลก และมีแสงสว่างได้โดยการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์” 

                  ซึ่งเป็นการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้ให้แนวความคิดอย่างถูกต้องในเรื่องของการเกิดจันทรุปราคาว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงาของโลกอีกด้วย และในการบรรยายของ เขาได้เปรียบดวงอาทิตย์เป็นก้อนเพลิง ที่มีขนาดใหญ่กว่า " คาลสมุทรเพดลพอนนีส"

       ทำให้เขาถูกกล่าวหาว่ามีความคิดที่ขัดกับศาสนา จนทางการบังคับให้เขาหนีไปยัง แลมพ์ซาคัส (Lampsacus) และเสียชีวิตที่นั่น



      แอแนกแซเกอเริส  ( Anaxagoras )  เป็นนักปรัชญาสมัยก่อนโสกราตีส งานชิ้นสำคัญของเขา คือ “Cosmic mind” 


 ขอบคุณ แหล่งข้อมูล 
wikipedia
หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย อ.วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการโหราศาสตร์ของโลก บทที่ 5.1. ธาลีส (Thales)

บุคคลสำคัญในยุคกรีก
               1.ธาลีส  แห่ง มิเลทัส (Thales of Miletus)     624 –  546 ปีก่อนคริศต์ศักราช.

 ธาลีส (Thales)  เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณ ได้รับการยกย่องจากอริสโตเติล ว่า เป็นนักปรัชญาคนแรกที่บันทึกความคิดไว้เป็นหลักฐาน และได้รับเกียรติให้เป็นบิดาของวิชาปรัชญาตะวันตก       (เบอร์แทรนด์ รัสเซลล์ กล่าวว่า “ วิชาปรัชญาเริ่มต้นจากธาลีส”)

 ธาลีส (Thales) เป็นนักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ และ นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียง   ธาลีส (Thales) เป็นชาวเมืองมิเลทัส (Miletus)  ซึ่งอยู่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ ประเทศตุรกีในปัจจุบัน  จากหลักฐานที่สำคัญได้พบว่า ธาลีส (Thales) ได้เขียนตำราเกี่ยวกับ การหาทิศ และ การเดินเรือ ในฐานะนักคณิตศาสตร์  เขาได้เคยเตือนให้ชาวเรือใช้กลุ่มดาวหมีเล็กในการเดินเรือ เพื่อกำหนดทิศเหนือ ซึ่งในสมัยนั้นกำหนดจากกลุ่มดาวหมีใหญ่

จากแหล่งที่มา ประมาณการณ์ว่า เฮโรโดตุส อ้างว่า ธาลีส (Thales) ได้ทำนาย สุริยุปราคา ซึ่งสามารถระบุวันที่จากวิธีสมัยใหม่ได้ว่าเป็นวันที่ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อน ค.ศ. แต่ ธาลีส(Thales) เองกล่าวว่า เขาได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุริยุปราคา จาก นักดาราศาสตร์ ชาวอียิปต์

Thales of Miletus
ธาลีส (Thales) ได้ศึกษาวิชาการคำนวณจากนักบวชอียิปต์โบราณ และเป็นคนแรกที่ได้นำความรู้นั้นมา คำนวณหาความสูงของพีระมิดในอียิปต์โดยใช้เงา  และได้พิสูจน์ ทฤษฏีทางเรขาคณิต เช่น เส้นผ่าศูนย์กลางจะแบ่งครึ่งวงกลม   มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเท่ากัน  และ มุมในครึ่งวงกลมเป็นมุมฉาก  เป็นต้น  และได้นำหลักการคำนวณนี้มา ทำนายการเกิดสุริยคราสล่วงหน้า ได้เป็นผลสำเร็จซึ่งได้เกิดขึ้นก่อนปีพุทธศักราช 42 ปี
การคำนวณหาความสูงของพีระมิด

     ธาลีส (Thales) ได้วางแนวความคิดไว้ว่า “น้ำเป็นปัจจัยหลักของกำเนิดสรรพสิ่งต่างๆ” ท่านจินตนาการว่า “โลกเป็นจานแบนลอยอยู่บนผิวน้ำ”  จากความเชื่อของธาลีส (Thales) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ  โลกเริ่มต้นจากน้ำ  ซึ่งอริสโตเติล ( Aristotle 384 – 322  ก่อนค.ศ.) ให้ความเชื่อเทียบเท่ากับความเชื่อของ อาแนกซิแมนเดอร์  (Anaximander) ที่ได้กล่าวไว้ว่า “โลกมีสันฐานเป็นทรงกระบอกลอยอยู่ในอากาศ" หรือโลกก่อกำเนิดจากอากาศ

อภิปรัชญาของอริสโตเติ้ล (Aristotle)  ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับมุมมองของธาลีส (Thales)  ไว้ดังนี้  “รูปแบบใดที่ทุกอย่างปรากฏอยู่ และ รูปแบบใดที่เกิดขึ้นก่อน ก็จะเข้าไปอยู่ในนั้นเป็นส่วนหนึ่งในนั้น  แต่เปลี่ยนแปลงในด้านคุณสมบัติ เหมือนกับที่กล่าวกันว่า ธาตุและองค์ประกอบหลักของวัตถุใดก็เป็นอย่างนั้น “ และอีกครั้งหนึ่ง “เพื่อความจำเป็นตามธรรมชาติของมัน  อะไรอย่างหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งจากอะไรที่มาเป็นอย่างอื่น และอยู่ในนั้นมันคือ น้ำ” ธาลีส (Thales)  เป็นผู้พบปรัชญาเกี่ยวกับ น้ำ

และธาลัส (Thales) ได้สอนว่า "การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ปรากฎบนฟ้า ล้วนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ไม่ใช่เทพเจ้าดลบันดาล หรือ อิทธิพลใด ๆจากสวรรค์"

ธาลัส (Thales) เกิดตรงกับในช่วงสมัยพุทธกาล คือ เกิดก่อนพระพุทธเจ้าประสูติประมาณ 2 ปี และเสียชีวิตก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพานประมาณ 4 ปี

ขอบคุณ แหล่งข้อมูล 

หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)

วิวัฒนาการโหราศาสตร์ของโลก บทที่ 5 ยุคสมัยกรีก

บทที่ 5  ยุคสมัยกรีก

                                     ความเจริญทางด้านศาสตร์ต่างๆ นับจาก ยุคสมัยบาบิโลน จนกระทั่ง ยุคสมัยอียิปต์ เราจะเห็นได้ว่า ได้มีการประดิษฐ์อักษรขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อสำหรับการเก็บบันทึก  เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  และก่อให้วิชาการต่างๆขึ้นอย่างมากมาย เช่น คณิตศาสตร์  ดาราศาสตร์   วิทยาศาสตร์  โหราศาสตร์  และการเกษตรกรรม   เป็นต้น  และรวมถึงสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมา เช่น ปิรามิด มหาวิหาร เสาขนาดใหญ่ เป็นต้น  สังคมมนุษย์เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง มีความสลับซับซ้อน เกินจากแค่การหากินเพื่อยังชีพเท่านั้น แต่เริ่มมีอำนาจ มีการแบ่งชนชั้น มีการกำหนดเขตการอยู่อาศัย  และเริ่มมีการนับถือเทพเจ้า  มีพิธีกรรมต่างๆ และเริ่มมีศาสนาเกิดขึ้น

            ในยุคสมัยกรีก ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 750 ปีก่อนคริสต์ศักราช  โดยมี กรุงเอเธนส์  (Athens) เป็นศูนย์กลางแห่งอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรื่องมาก (ปัจจุบันคือ ประเทศกรีซ) ในยุคกรีกได้แบ่งอารยธรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ อารยธรรมกรีกโบราณ หรือ อารยธรรมเฮลเลนิก  (Hellenic Civilization)    ซึ่งอยู่ในช่วงปี 750 - 336 ก่อนคริสต์กาล และ อารยธรรมเฮลเลนิสติก  (Hellenistic civilization) ซึ่งอยู่ในช่วงปี 336 – 31 ก่อนคริสต์กาล ซึ่งในช่วงเวลานั้น กรีกได้อยู่ภายใต้การปกครองของ จักรวรรดิมาซิโดเนีย  (Macedonia)   อารยธรรมกรีก เกิดขึ้นในบริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่าน และ ชายฝั่งทะเลอีเจียน ซึ่งกั้นระหว่างคาบสมุทรบอลข่าน และ เอเชียไมเนอร์ ซึ่งมีเขตติดต่อกับยุคเมโสโปเตเมีย และ ยุคอียิปต์

 จึงทำให้ชาวกรีกสนใจในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของอารยธรรมรอบๆข้าง จึงได้เป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน   และได้มีนักดาราศาสตร์ซึ่งอยู่ในฐานะนักโหราศาสตร์  นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์  เกิดขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะทางด้านโหราศาสตร์ ได้เกิดระบบ จักรราศี  (Zodiac)  แบบแบ่งด้วยองศา ซึ่งมีขึ้นเมื่อประมาณ 460 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภายหลังที่ได้มีการค้นพบ จุด Solstice points   กับ  จุด Equinoctical points  แล้ว

            ส่วนระบบจักรราศี  ที่เรียกว่า จักรราศี แห่งเดนเดราห์ (The Zodiac of Denderah )   ที่มี 12 ราศีนั้น มีอายุประมาณ 100 ถึง 30 ปี ก่อนคริสต์ศักราช คำว่า  “Denderah นั้นเป็นหลักการหนึ่งที่มาจากDwadasamas  (ทวาทศมาส)  หลังจากนั้นแล้ว ในสมัยของ จักรพรรดิ์  Augustus  ได้มีโหราจารย์ชื่อ Manilius  ได้เขียนตำราโหร ชื่อว่า Astronomica  ขึ้น (เป็นปกรณ์โหรของชาวโรมัน แบบจักรทีปนี) โดยได้พัฒนาขึ้นเป็นแบบดวงชะตา 12 เรือน เรียกว่า “ดวงสิบสองอัธลา” ( The Twelve  Athla )

          เมื่อ 2000 ปีก่อนค.ศ. ชาวบาบิโลน ( Babylon เจริญขึ้นมาแทน ชาวสุเมเรียน  ( Sumerian ) ได้มีการกำหนดจักรราศีหรือขอบเขตของจักรราศีในยุคนั้น  มีการกำหนดหน่วยวัดทางเวลาและดาราศาสตร์ขึ้น (หน่วย 60) เช่น ชั่วโมง นาที องศา ลิปดา  และ 1250 ปีก่อน ค.ศ.กำหนดจุดเริ่มต้นฤดูกาล 4 จุดคือ ราศีเมษ ( Aries ) ราศีกรกฎ( Cancer ราศีตุลย์ ( Libra  และ ราศีมังกร ( Capricon ) และ 600 ปีก่อนคริสศักราช. วิทยาการทางดาราศาสตร์ แผ่ขยายจากบาบิโลนไปทั่ว  อียิปต์  กรีก  และบริเวณตะวันออกกลางในปัจจุบัน

            ในยุคกรีกก่อให้เกิดนักปรัชญา นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์  และนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งอยู่ในฐานะนักโหราศาสตร์  ขึ้นมากมาย และถือเป็นบุคคลสำคัญในเวลาต่อมา


 ขอบคุณ แหล่งข้อมูล 

หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการโหราศาสตร์ของโลก บทที่ 4 ยุคอียิปต์โบราณ

บทที่ 4    ยุคอียิปต์โบราณ

                           จากยุคบาบิโลน  (Babylon)   ได้มีสิ่งสำคัญเกิดขึ้นคือ 
 1.ได้กำหนดให้ 1 วันมี 24 ชั่วโมง   
 2. เริ่มมีทิศเฉียงเหนือ/เฉียงใต้  
 3.จันทร์เพ็ญ/จันทร์ดับ และการเว้าแหว่งของดวงจันทร์จะเกิดขึ้นทุกๆ 29 วันครึ่ง หรือ นับเป็น 1เดือน จึงเกิดปฏิทินจันทรคติซึ่ง     กำหนดเวลายาวนานใน 1 ปี เท่ากับ 354 วันกับ 6 ชั่วโมง
 4.กำหนดกลุ่มดาวฤกษ์เป็นรูปสัตว์ (Zodiac)

                         ต่อมาในสมัย ยุคเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้มีสิ่งสำคัญเกิดขึ้นคือ
1.ประดิษฐ์การเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกด้วยอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform)
2.เริ่มมีผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์โดยชาวคาลเดียน (Chaldean) 
3.เริ่มมีการพยากรณ์ดวงชะตาบุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรก 
4.สันนิษฐานว่าเริ่มมีการจัดระบบจักรราศี แล้วแบ่งออกเป็นราศีละ 30 องศาเท่ากัน

      ยังมีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกันไป    บ้างก็เชื่อว่ามีการพัฒนาจักรราศีเมื่อ 4,700ปีก่อนคริสตกาล   ซึ่งเป็นยุคที่ “วิษุวัต” (Vernal Equinox) กำลังโคจรเข้าไปในกลุ่มดาวฤกษ์ราศีพฤษภ (วิษุวัต หรือจุดราตรีเสมอภาค เป็นศัพท์ทางดาราศาสตร์ หมายถึง ช่วงที่ดวงอาทิตย์ อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือ ในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความเอียงของแกนโลกจะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ ซึ่งวันนั้น กลางวันจะเท่ากับกลางคืน)
 ถึงแม้จะเชื่อว่าโหราศาสตร์ก่อกำเนิดในดินแดนเมโสโปเตเมีย แต่อาณาจักรอียิปต์ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับเมโสโปเตเมียก็ได้พัฒนาความรู้ทางดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ไปพร้อมกัน

                ประมาณ 3200 - 2300 ปี ก่อนคริสตกาล เป็นยุคสมัยของอียิปต์อาณาจักรเก่า (The Old Kingdom) เป็นสมัยที่อารยธรรมอันยิ่งใหญ่เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ฟาโรห์เมเนสได้ทรงรวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยกัน และสถาปนาเป็นราชวงศ์ที่ 1 ขึ้น เมื่อประมาณ 3200 ปีก่อนคริสตกาล ในอาณาจักรเก่านี้มีฟาโรห์ปกครองทั้งสิ้นรวม 6 ราชวงศ์ จนประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยราชวงศ์ที่สามได้ย้ายเขตปกครองมาอยู่ที่เมืองเมมฟิส และตั้งเขตปกครองนี้นานถึง 5 ศตวรรษ เรียกสมัยนี้ว่า สมัยเมมฟิส (Memphis period) ในสมัยนี้มีการสร้างปิรามิดขึ้นมามากมาย จนได้ขนานนามยุคนี้ว่า ยุคปิรามิด (Pyramid Age)

           ได้มีหลักฐานต่างๆ ที่แสดงว่า ดาราศาสตร์ในยุคนี้ได้เริ่มรู้จักใช้นิ้วมือ กำปั้น และส่วนต่างๆ ของร่างกาย วัดระยะดวงดาว (คิวบิท) ขึ้นเป็นครั้งแรก และได้มีการตั้งชื่อเทพเจ้าประจำกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆขึ้น   และจากการสังเกตตอนพระอาทิตย์ตกในยามเย็นของวันที่ที่มีระยะเวลากลางวันนานที่สุด (Summer Solstice) จะอยู่ใกล้กลุ่มดาวราศีสิงห์   (โดยเฉพาะดาวหัวใจสิงห์ หรือRegurus) และในตอนหัวค่ำของเดือนที่แม่น้ำไนล์มีปลาชุกชุม จะเห็นกลุ่มดาวราศีมีนอยู่บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเสมอ
            และในยุคสมัยนี้มีการสร้างปิรามิด ขึ้น โดยได้มีการกำหนดตำแหน่งชองฐานด้านทั้งสี่ของปิรามิด หันไปสู่ทิศหลัก และทางเข้าออกที่สำคัญ ๆ ให้หันไปสู่ทิศเหนือ ซึ่งในขณะนั้นจะมี ดาวทูบัน ( Thuban ) เป็นดาวที่อยู่ทางทิศเหนือ  และมีการสร้างปิรามิด ให้มีความสอดคล้องกับตำแหน่งเข็มขัดของกลุ่มดาวนายพราน (กลุ่มดาวเต่า)  

             ประมาณ 2700 ปีก่อนคริสตกาล  ได้มีการสร้างมหาปิรามิด Khufu อันยิ่งใหญ่แห่งเมืองกิซ่า  ใช้ตัวเลขทางดาราศาสตร์กำหนดสัดส่วนของโครงสร้างภายในซึ่งเป็น สุสานฟาโรห์  “ตูฟู”  โดยช่องฝั่งพระศพ จะชี้ตรงไปยังขั้วฟ้าเหนือที่ดาวทูบัน (Thuban)    
              จากการสังเกตปรากฏการณ์บนท้องฟ้าชาวอียิปต์ก็เห็นว่า วันที่ดาวซิริอุส (Sirius หรือ ดาวโจร ) โผล่ขึ้นพ้นขอบฟ้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น 1 ชั่วโมง น้ำในแม่น้ำไนล์ก็เพิ่มสูงขึ้น ทุกๆครั้งที่เป็นปรากฏการณ์เช่นนี้ ซ้ำแล้วซ้ำอีก   จึงทำให้ในยุคสมัยนี้ได้มีการคิดค้นปฏิทินสุริยคติ และกำหนดเดือนต่างๆ ตามจักรราศีที่ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน
               


           (The ancient Egyptians saw Sirius as a giver of life for it always reappeared at the time of the annual flooding of the Nile. When the star sank in the west and disappeared from the night sky, it remained hidden for 70 days before emerging in the east in the morning. This was viewed as a time of death and rebirth.)
           (เมื่อชาวอียิปต์โบราณ เห็นดาวซิริอุส โผล่พ้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออก จะถือเป็นช่วงเวลาแห่งการมอบชีวิตใหม่ให้คืนกลับสู่แม่น้ำไนล์อีกครั้ง จะเป็นเช่นนั้นไปอีก 70 วัน ก่อนที่จะเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และดาวซิริอุสหายลับไปขอบฟ้าทางทิศตะวันตก จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ชาวอียิปต์โบราณจึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งการตายและการเกิดใหม่)

             ในยุคอียิปต์ ได้มีการแบ่งเป็นยุคต่างๆ  เริ่มเกิดเรื่องราวมากมายในชีวิตประจำวันเกินจากการดำรงเลี้ยงชีพเพื่อความอยู่รอดไปวันๆ  เช่น แต่ก่อน เริ่มมีการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย ซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มมีศาสนาเกิดขึ้น  ซึ่งมีอยู่ในรูปร่างและหัวของสัตว์  และหันมานับถือดวงอาทิตย์กันมากขึ้น   มีการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นมากมายเช่น ปิรามิด  และมหาวิหารที่สำคัญ ๆหลายแห่ง  เช่น   วิหารของเทพเจ้าอาตุม – เร ที่เฮลิโอโปลิส    วิหารของเทพเจ้าพทาห์ที่เมมฟิส   วิหารของเทพเจ้าธอท์ที่เฮอร์โมโปสิส  และ  เทพเจ้าโอซิริสซึ่งเคยเป็นเทพเจ้าแห่งพืชพันธุ์ไม้ ก็กลายมาเป็นเทพเจ้าของคนตาย       ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องเวรกรรม  คนตายไปแล้วจะได้รับกรรมที่ทำไว้ และมีความเชื่อในเรื่องของชาติหน้า

 และในความสลับสับซ้อนทางสังคม  ก็ได้มีพิธีกรรม มีเทพเจ้า ซึ่งอ้างถึงตำแหน่งดาวบนท้องฟ้า ในเวลานั้น ปรากฏเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ได้ก่อกำเนิดการคำนวณขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การบวก ลบ และหาร การคำนวณพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งความรู้ดังกล่างเป็นรากฐานของวิชา ฟิสิกส์ ซึ่งชาวอียิปต์ใช้คำนวณในการก่อสร้างปิรามิด วิหาร เสาหินขนาดใหญ่  และ ทางด้านการเกษตรกรรม ชาวอียิปต์ก็สังเกตปรากฏการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างดวงดาวกับระดับน้ำในแม่น้ำไนล์ ที่หลากท่วมล้นตลิ่ง และ เมื่อน้ำลดลงพื้นดินก็มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการเพาะปลูก  หลังจากชาวนาเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว น้ำในแม่น้ำไนล์ก็กลับมาท่วมอีกครั้ง หมุนเวียนเป็นเช่นนี้ ชาวอียิปต์จึงได้นำความรู้จากประสบการณ์ดังกล่าวไปคำนวณปฏิทิน  และนับรวมเป็น 1 ปี ใน 1 ปีก็จะมี 12 เดือน  โดยในรอบ 1 ปี ยังแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูน้ำท่วม  ฤดูไถหว่าน และฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อนำไปเป็นวิถีการประกอบอาชีพอีกด้วย

ในยุคอียิปต์นี้ได้มี อักษรเฮียโรกลีฟ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปสัญลักษณ์หนึ่งก็จะมีค่าเท่ากับคำหนึ่งคำ จากนั้นจะเป็นกลุ่มพยัญชนะโดดๆ ไม่มีสระ สำหรับนำไปใช้ในพิธีการทางศาสนา ซึ่งจะนำมาใช้ต่อจากอักษรเฮียราติค (ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป) และอักษรเดโมติค (ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในราว 700 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นภาษาประจำวัน

จากการคิดค้น ปฏิทินสุริยคติ ของชาวอียิปต์ซึ่งกำหนดนับรวมเป็น 1 ปี และใน 1 ปีก็จะมี 12 เดือน หรือเป็นวันก็จะมีจำนวน 365 วัน ครึ่ง หรือ เศษหนึ่งส่วนสี่  (12 x 30 + 5 )  ดังนั้นปีที่มี 366 วันจึงไม่มีปรากฏใช้ และในการนับปี ถือเอา เทพเจ้าซิริอุส (โซธิส)  เป็นหลัก คือ หนึ่งปีโซธิส จะมีจำนวน 365 วันและอีกเศษหนึ่งส่วนสี่ 

               นับแต่นั้นมา วันแรกของปี ก็จะเริ่มกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะตรงกับวันที่ระดับน้ำในแม่น้ำไนล์ล้นตลิ่ง

      
                 ขอบคุณ แหล่งข้อมูล 
หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)