จากปฐมบทที่แล้ว เราจะเห็นถึงความฉลาดของมนุษย์ ที่จะพยายามเอาชนะปัญหาต่างๆ ซึ่งนำมาก่อให้เกิด ปัญญา อย่างมากมายมหาศาล ทำให้เรารู้จักดวงอาทิตย์ ลูกไฟดวงใหญ่ที่ให้แสงสว่าง และความอบอุ่นแก่พื้นโลก บนท้องฟ้าที่มีแต่กลุ่มเมฆ ลอยเป็นเพื่อนอยู่ และเราก็ได้รู้จัก ดวงจันทร์ ลูกไฟดวงใหญ่อีกดวงที่ให้แสงสว่างนุ่มนวล บางเวลาก็นำทางในยามมืดมิดได้ บางเวลาก็นำมาซึ่งความมืดสนิทเสียเอง แต่ก็ยังคงให้พลังงานแห่งความอบอุ่นอย่างแผ่วเบา อ่อนโยน และมาพร้อมกับผองเพื่อนดวงดาวเล็ก ๆ นับแสนล้านดวงที่มีจำนวนมากมายมหาศาลบนผืนผ้าสีดำที่เราให้สมญานามว่า “จักรวาล” ในเวลาต่อมา
จากวัฎจักรแห่งการเปลี่ยนแปลงของวัตถุบนท้องฟ้า ก็นำมาซึ่งการสังเกตปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นมากมายบนท้องฟ้า เช่น ดาวหาง ผีพุ่งใต้ ราหูอมจันทร์ หรือ จันทรุปราคา สุริยุปราคา คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งเรียกว่าเดือนเพ็ญ และคืนที่ไร้พระจันทร์ เรียกว่า เดือนดับ เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะนำมาพร้อมกับภัยพิบัติบางอย่างแก่สรรพชีวิตบนพื้นโลก ทำให้มนุษย์เกิดความหวาดกลัว และพยายามหาทางที่จะขจัดปัดเป่าให้สิ้นไป
เมื่อประมาณ
7000 – 8000 ปี ดินแดนลุ่มน้ำแห่งแม่น้ำ
ไทกรีซ (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรติส (Euphrates)เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของ ชาวบาบิโลเนียน และ ชาวอัสซิเรียน
ชาวบาบิโลนเนียน ได้แบ่งออกเป็น สองยุค คือยุคเก่า และยุคใหม่ ในสมัยอาณาจักรบาบิโลเนียยุคเก่า เริ่มอ่อนแอ ถูกพวก ฮิตไทด์ (Hittite) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและใต้ (เทือกเขาซากรอส ) เข้าปล้นสะดมเมื่อ 1590ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาพวกฮิตไทต์ก็เสียอำนาจให้แก่พวกคัสไซต์และ เข้าครอบครองกรุงบาบิโลนเป็นเวลาถึง 400 ปี
ชาวบาบิโลนเนียน ได้แบ่งออกเป็น สองยุค คือยุคเก่า และยุคใหม่ ในสมัยอาณาจักรบาบิโลเนียยุคเก่า เริ่มอ่อนแอ ถูกพวก ฮิตไทด์ (Hittite) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและใต้ (เทือกเขาซากรอส ) เข้าปล้นสะดมเมื่อ 1590ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาพวกฮิตไทต์ก็เสียอำนาจให้แก่พวกคัสไซต์และ เข้าครอบครองกรุงบาบิโลนเป็นเวลาถึง 400 ปี
แม่นำ้ยูเฟรทีส (Euphrates) ในประเทศอิรัก |
ด้วยความพยายามของมนุษย์ที่จะเอาชนะอุปสรรค
ก็ให้เกิดปัญญา และ องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกสรรพสิ่งบนพื้นโลก
จากการสังเกตดวงลูกไฟใหญ่ที่ให้แสงสว่าง และความอบอุ่น เป็นแหล่งก่อให้เกิดสรรพชีวิตขึ้นมากมาย เล็งเห็นความสำคัญของเจ้าลูกไฟดวงใหญ่ดวงนี้
จึงเรียกเจ้าลูกไฟใหญ่นี้ว่า “ดวงอาทิตย์ ”
จึงได้มีการกำหนดวันเทศกาลต่าง ๆ และฤดูการเก็บเกี่ยวได้แน่นอนขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังค้นพบปรากฎการณ์ธรรมชาติ
ที่ดวงอาทิตย์ดับมืดไปในเวลากลางวัน
แล้วก็กลับสว่างขึ้นมาอีกครั้ง ในเวลาใกล้เคียง ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า “สุริยุปราคา”
หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)
ขอบคุณ แหล่งข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น