วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการโหราศาสตร์ของโลก บทที่ 5.3 พีทาโกรัส (Pythagoras)


                                                  3. พีทาโกรัส (Pythagoras)  582 – 507 ปีก่อนคริสศักราช

           พีทาโกรัส (Pythagoras)   เกิดเมื่่อ 559 ก่อน คริสต์ศักราช ที่บนเกาะซาโมส (Samos) นอกชายฝั่งเอเชียไมเนอร์  กรีซ (ปัจจุบันเป็นประเทศตุรกี) เป็นบุตรชายของพีทาอิส และ เนซาร์คัส    พีทาโกรัส (Pythagoras)ได้ออกจากบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่ที่ โครทัน (Croton) ทางตอนใต้ของอิตาเลียน เพื่อที่จะหนีจากการถูกจับกุมจากรัฐบาลทรราชของ โพลีเครติส 

           จากข้อสันนิษฐาน คาดว่าก่อนทีพีทาโกรัส (Pythagoras)  จะถึงเมืองโครทัน (Croton) เขาได้ศึกษาหาความรู้จากนักปราชญ์ของชาวอียิปต์ และ ชาวบาบิโลน  และเมื่อเขาได้ย้ายถิ่นฐานจากซาโมส (Samos) มายังเมืองโครทัน (Croton) พีทาโกรัส (Pythagoras) ก็ได้ก่อตั้งสมาคมศาสนาลับขึ้น มีรูปแบบคล้ายคลึงกับลัทธิออร์เฟอัส ที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น


            ณ เมืองโครทัน (Croton)  พีทาโกรัส (Pythagoras)ได้จัดปฏิรูปวัฒนธรรมของชาวโครทัน (Croton) ขึ้นใหม่ โดยแนะให้ชาวเมืองทำตามจริยธรรมและสร้างกลุ่มสาวกของเขาขึ้นมา  จากนั้นก็ได้เปิดสถานศึกษาเป็นโรงเรียนของพีทาโกรัสเอง  ซึ่งเขาได้เปิดรับทั้งชายและหญิง แต่มีเงื่อนไขว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมจำเป็นต้องสละทรัพย์สิน และกินอยู่แบบมังสวิรัตที่โรงเรียน และเรียกตัวเองว่า “มาเทมาทิคอย” (Mathematikoi) ส่วนผู้คนอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงก็สามารถเข้าเรียนได้ และไม่จำเป็นต้องสละทรัพย์สิน หรือใช้ชีวิตแบบมังสวิรัต

                            พีทาโกรัส (Pythagoras) เป็นนักปราชญ์ชาวไอโอเนียน และ เป็นนักคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม เจ้าของทฤษฎีบทพีทาโกรัส  และเป็นคนแรกที่เสนอแนวความคิดว่า โลกมีสันฐานกลม  ซึ่งนับว่าเป็นก้าวใหญ่ก้าวหนึ่งของการพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับเอกภพ  ซึ่งแนวคิดในยุค 600 ปี ก่อนคริสต์กาลของนักปราชญ์เหล่านี้ ยังคงมีพื้นฐานอย่างเหนียวแน่นว่า โลกเป็นวัตถุที่หยุดนิ่งอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าทุกชนิดที่สังเกตเห็น เป็นการเคลื่อนที่แท้จริงของวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นทั้งสิ้น

                    พีทาโกรัส (Pythagoras)   ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งตัวเลข”  ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อคณิตศาสตร์ เขายังได้สร้างสรรค์ความคิดหลายอย่างให้กับ ปรัชญาและศาสนา  ในปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์กาล   ( มีเรื่องเล่ากันว่าพีทาโกรัส (Pythagoras)  ผู้ซึ่งบูชาตัวเลขดุจดั่งพระเจ้า ตกใจมากกับการค้นพบตัวเลขซึ่งไม่สามารถแทนได้ด้วยเศษส่วนนี้ จึ่งสั่งให้ลูกศิษย์เซ่นไหว้วัว 100 ตัวในการขอขมาที่ไปพบกับความลับของพระเจ้า )    สาวกของพีทาโกรัส  (Pythagoras)  ได้ชื่อว่าพวก  พีทาโกเรียน ” เป็นนักคณิตศาสตร์ และ นักปราชญ์ ที่บุกเบิกเรขาคณิต พวกพีทาโกเรียนยังมีความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด และ ความเชื่อว่าตัวเลขเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่ง   พวกเขาจะปฏิบัติพิธีกรรมล้างมลทิน  ปฏิบัติตามกฏการกินอาหาร และกฏอื่น ๆ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้พวกเขาเป็นอิสระจากวงจรการเกิดใหม่



                    พีทาโกรัส (Pythagoras)  ยังเชื่อในเรื่องความเสมอภาคของชายและหญิง เขาริเริ่มโรงเรียนของเขาพร้อมด้วยภรรยา ทีอาโน  (Theano) และหลังจากที่พีทาโกรัส (Pythagoras)  ได้เสียชีวิตไปแล้ว ทีอาโน (Theano) และลูก  ได้สืบทอดเจตนาถ่ายทอดความรู้ของพีทาโกรัส (Pythagoras) ในเวลาต่อมาที่โรงเรียนของพีทาโกรัส

            เหล่าพีทาโกเรียน  เขาจะปฏิบัติต่อทาสเป็นอย่างดี และสัตว์มีฐานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิญญาณ พวกพีทาโกเรียนยังเชื่ออีกว่า การชำระล้างวิญญาณที่สูงที่สุดคือ “ปรัชญา” หลายสิ่งที่พวกพีทาโกเรียนปฏิบัตินั้นเหมือนกันกับสิ่งที่พวกเจนไน ( Chennai  หรือ ทมิฬ  หรือ มัทราส (Madras) ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑุ ประเทศอินเดีย) ปฏิบัติ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านสันนิษฐานว่า พีทาโกรัส (Pythagoras)  องได้เคยศึกษาอยู่กับพวกเจนไนอินเดีย

        
  ขอบคุณ แหล่งข้อมูล 

  wikipedia
 หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย  อ.วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น