วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการโหราศาสตร์ของโลก บทที่ 4 ยุคอียิปต์โบราณ

บทที่ 4    ยุคอียิปต์โบราณ

                           จากยุคบาบิโลน  (Babylon)   ได้มีสิ่งสำคัญเกิดขึ้นคือ 
 1.ได้กำหนดให้ 1 วันมี 24 ชั่วโมง   
 2. เริ่มมีทิศเฉียงเหนือ/เฉียงใต้  
 3.จันทร์เพ็ญ/จันทร์ดับ และการเว้าแหว่งของดวงจันทร์จะเกิดขึ้นทุกๆ 29 วันครึ่ง หรือ นับเป็น 1เดือน จึงเกิดปฏิทินจันทรคติซึ่ง     กำหนดเวลายาวนานใน 1 ปี เท่ากับ 354 วันกับ 6 ชั่วโมง
 4.กำหนดกลุ่มดาวฤกษ์เป็นรูปสัตว์ (Zodiac)

                         ต่อมาในสมัย ยุคเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้มีสิ่งสำคัญเกิดขึ้นคือ
1.ประดิษฐ์การเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกด้วยอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform)
2.เริ่มมีผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์โดยชาวคาลเดียน (Chaldean) 
3.เริ่มมีการพยากรณ์ดวงชะตาบุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรก 
4.สันนิษฐานว่าเริ่มมีการจัดระบบจักรราศี แล้วแบ่งออกเป็นราศีละ 30 องศาเท่ากัน

      ยังมีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกันไป    บ้างก็เชื่อว่ามีการพัฒนาจักรราศีเมื่อ 4,700ปีก่อนคริสตกาล   ซึ่งเป็นยุคที่ “วิษุวัต” (Vernal Equinox) กำลังโคจรเข้าไปในกลุ่มดาวฤกษ์ราศีพฤษภ (วิษุวัต หรือจุดราตรีเสมอภาค เป็นศัพท์ทางดาราศาสตร์ หมายถึง ช่วงที่ดวงอาทิตย์ อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือ ในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความเอียงของแกนโลกจะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ ซึ่งวันนั้น กลางวันจะเท่ากับกลางคืน)
 ถึงแม้จะเชื่อว่าโหราศาสตร์ก่อกำเนิดในดินแดนเมโสโปเตเมีย แต่อาณาจักรอียิปต์ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับเมโสโปเตเมียก็ได้พัฒนาความรู้ทางดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ไปพร้อมกัน

                ประมาณ 3200 - 2300 ปี ก่อนคริสตกาล เป็นยุคสมัยของอียิปต์อาณาจักรเก่า (The Old Kingdom) เป็นสมัยที่อารยธรรมอันยิ่งใหญ่เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ฟาโรห์เมเนสได้ทรงรวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยกัน และสถาปนาเป็นราชวงศ์ที่ 1 ขึ้น เมื่อประมาณ 3200 ปีก่อนคริสตกาล ในอาณาจักรเก่านี้มีฟาโรห์ปกครองทั้งสิ้นรวม 6 ราชวงศ์ จนประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยราชวงศ์ที่สามได้ย้ายเขตปกครองมาอยู่ที่เมืองเมมฟิส และตั้งเขตปกครองนี้นานถึง 5 ศตวรรษ เรียกสมัยนี้ว่า สมัยเมมฟิส (Memphis period) ในสมัยนี้มีการสร้างปิรามิดขึ้นมามากมาย จนได้ขนานนามยุคนี้ว่า ยุคปิรามิด (Pyramid Age)

           ได้มีหลักฐานต่างๆ ที่แสดงว่า ดาราศาสตร์ในยุคนี้ได้เริ่มรู้จักใช้นิ้วมือ กำปั้น และส่วนต่างๆ ของร่างกาย วัดระยะดวงดาว (คิวบิท) ขึ้นเป็นครั้งแรก และได้มีการตั้งชื่อเทพเจ้าประจำกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆขึ้น   และจากการสังเกตตอนพระอาทิตย์ตกในยามเย็นของวันที่ที่มีระยะเวลากลางวันนานที่สุด (Summer Solstice) จะอยู่ใกล้กลุ่มดาวราศีสิงห์   (โดยเฉพาะดาวหัวใจสิงห์ หรือRegurus) และในตอนหัวค่ำของเดือนที่แม่น้ำไนล์มีปลาชุกชุม จะเห็นกลุ่มดาวราศีมีนอยู่บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเสมอ
            และในยุคสมัยนี้มีการสร้างปิรามิด ขึ้น โดยได้มีการกำหนดตำแหน่งชองฐานด้านทั้งสี่ของปิรามิด หันไปสู่ทิศหลัก และทางเข้าออกที่สำคัญ ๆ ให้หันไปสู่ทิศเหนือ ซึ่งในขณะนั้นจะมี ดาวทูบัน ( Thuban ) เป็นดาวที่อยู่ทางทิศเหนือ  และมีการสร้างปิรามิด ให้มีความสอดคล้องกับตำแหน่งเข็มขัดของกลุ่มดาวนายพราน (กลุ่มดาวเต่า)  

             ประมาณ 2700 ปีก่อนคริสตกาล  ได้มีการสร้างมหาปิรามิด Khufu อันยิ่งใหญ่แห่งเมืองกิซ่า  ใช้ตัวเลขทางดาราศาสตร์กำหนดสัดส่วนของโครงสร้างภายในซึ่งเป็น สุสานฟาโรห์  “ตูฟู”  โดยช่องฝั่งพระศพ จะชี้ตรงไปยังขั้วฟ้าเหนือที่ดาวทูบัน (Thuban)    
              จากการสังเกตปรากฏการณ์บนท้องฟ้าชาวอียิปต์ก็เห็นว่า วันที่ดาวซิริอุส (Sirius หรือ ดาวโจร ) โผล่ขึ้นพ้นขอบฟ้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น 1 ชั่วโมง น้ำในแม่น้ำไนล์ก็เพิ่มสูงขึ้น ทุกๆครั้งที่เป็นปรากฏการณ์เช่นนี้ ซ้ำแล้วซ้ำอีก   จึงทำให้ในยุคสมัยนี้ได้มีการคิดค้นปฏิทินสุริยคติ และกำหนดเดือนต่างๆ ตามจักรราศีที่ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน
               


           (The ancient Egyptians saw Sirius as a giver of life for it always reappeared at the time of the annual flooding of the Nile. When the star sank in the west and disappeared from the night sky, it remained hidden for 70 days before emerging in the east in the morning. This was viewed as a time of death and rebirth.)
           (เมื่อชาวอียิปต์โบราณ เห็นดาวซิริอุส โผล่พ้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออก จะถือเป็นช่วงเวลาแห่งการมอบชีวิตใหม่ให้คืนกลับสู่แม่น้ำไนล์อีกครั้ง จะเป็นเช่นนั้นไปอีก 70 วัน ก่อนที่จะเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และดาวซิริอุสหายลับไปขอบฟ้าทางทิศตะวันตก จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ชาวอียิปต์โบราณจึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งการตายและการเกิดใหม่)

             ในยุคอียิปต์ ได้มีการแบ่งเป็นยุคต่างๆ  เริ่มเกิดเรื่องราวมากมายในชีวิตประจำวันเกินจากการดำรงเลี้ยงชีพเพื่อความอยู่รอดไปวันๆ  เช่น แต่ก่อน เริ่มมีการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย ซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มมีศาสนาเกิดขึ้น  ซึ่งมีอยู่ในรูปร่างและหัวของสัตว์  และหันมานับถือดวงอาทิตย์กันมากขึ้น   มีการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นมากมายเช่น ปิรามิด  และมหาวิหารที่สำคัญ ๆหลายแห่ง  เช่น   วิหารของเทพเจ้าอาตุม – เร ที่เฮลิโอโปลิส    วิหารของเทพเจ้าพทาห์ที่เมมฟิส   วิหารของเทพเจ้าธอท์ที่เฮอร์โมโปสิส  และ  เทพเจ้าโอซิริสซึ่งเคยเป็นเทพเจ้าแห่งพืชพันธุ์ไม้ ก็กลายมาเป็นเทพเจ้าของคนตาย       ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องเวรกรรม  คนตายไปแล้วจะได้รับกรรมที่ทำไว้ และมีความเชื่อในเรื่องของชาติหน้า

 และในความสลับสับซ้อนทางสังคม  ก็ได้มีพิธีกรรม มีเทพเจ้า ซึ่งอ้างถึงตำแหน่งดาวบนท้องฟ้า ในเวลานั้น ปรากฏเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ได้ก่อกำเนิดการคำนวณขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การบวก ลบ และหาร การคำนวณพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งความรู้ดังกล่างเป็นรากฐานของวิชา ฟิสิกส์ ซึ่งชาวอียิปต์ใช้คำนวณในการก่อสร้างปิรามิด วิหาร เสาหินขนาดใหญ่  และ ทางด้านการเกษตรกรรม ชาวอียิปต์ก็สังเกตปรากฏการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างดวงดาวกับระดับน้ำในแม่น้ำไนล์ ที่หลากท่วมล้นตลิ่ง และ เมื่อน้ำลดลงพื้นดินก็มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการเพาะปลูก  หลังจากชาวนาเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว น้ำในแม่น้ำไนล์ก็กลับมาท่วมอีกครั้ง หมุนเวียนเป็นเช่นนี้ ชาวอียิปต์จึงได้นำความรู้จากประสบการณ์ดังกล่าวไปคำนวณปฏิทิน  และนับรวมเป็น 1 ปี ใน 1 ปีก็จะมี 12 เดือน  โดยในรอบ 1 ปี ยังแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูน้ำท่วม  ฤดูไถหว่าน และฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อนำไปเป็นวิถีการประกอบอาชีพอีกด้วย

ในยุคอียิปต์นี้ได้มี อักษรเฮียโรกลีฟ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปสัญลักษณ์หนึ่งก็จะมีค่าเท่ากับคำหนึ่งคำ จากนั้นจะเป็นกลุ่มพยัญชนะโดดๆ ไม่มีสระ สำหรับนำไปใช้ในพิธีการทางศาสนา ซึ่งจะนำมาใช้ต่อจากอักษรเฮียราติค (ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป) และอักษรเดโมติค (ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในราว 700 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นภาษาประจำวัน

จากการคิดค้น ปฏิทินสุริยคติ ของชาวอียิปต์ซึ่งกำหนดนับรวมเป็น 1 ปี และใน 1 ปีก็จะมี 12 เดือน หรือเป็นวันก็จะมีจำนวน 365 วัน ครึ่ง หรือ เศษหนึ่งส่วนสี่  (12 x 30 + 5 )  ดังนั้นปีที่มี 366 วันจึงไม่มีปรากฏใช้ และในการนับปี ถือเอา เทพเจ้าซิริอุส (โซธิส)  เป็นหลัก คือ หนึ่งปีโซธิส จะมีจำนวน 365 วันและอีกเศษหนึ่งส่วนสี่ 

               นับแต่นั้นมา วันแรกของปี ก็จะเริ่มกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะตรงกับวันที่ระดับน้ำในแม่น้ำไนล์ล้นตลิ่ง

      
                 ขอบคุณ แหล่งข้อมูล 
หลักสูตร “คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ บรรยายโดย วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น