5. ฟีโลลาอุส ( Phillolaus ) 480 – 385 ปีก่อนคริสศักราช
ฟีโลลาอุส ( Phillolaus ) เป็น
นักคณิตศาสตร์แนวพีทากอรัส (Greek Pythagorean ) และเป็นนักปรัชญาก่อนยุคโซเครติส
( Pre-Socratic Philosopher ) เชื่อเรื่องการใช้เหตุผลและปฎิเสธสิ่งลี้ลับรวมถึงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเองโดยหาสาเหตุมิได้ จึงได้เกิดมีคำถามที่สำคัญขึ้น คือ
1.สิ่งต่างๆมาจากไหน
2.สิ่งต่างๆถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร
3.เราจะอธิยายสิ่งต่างๆจำนวนมากในธรรมชาติได้อย่างไร
4.เราอาจจะอธิบายธรรมชาติได้ด้วยคณิตศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง "แก่นสารของสิ่งต่างๆ"
1.สิ่งต่างๆมาจากไหน
2.สิ่งต่างๆถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร
3.เราจะอธิยายสิ่งต่างๆจำนวนมากในธรรมชาติได้อย่างไร
4.เราอาจจะอธิบายธรรมชาติได้ด้วยคณิตศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง "แก่นสารของสิ่งต่างๆ"
เขามีข้อโต้แย้งว่า รากฐานของสรรพสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเล่น ทั้งที่มีขอบเขตและไร้ขอบเขต ซึ่งเป็นการหลอมรวมกันอย่างกลมกลืน และเขายังให้เครดิตกับต้นกำเนิด ทฤษฎีที่ว่า
“โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล”
ได้มีการบันทึกประวัติการเกิดของเขาอยู่หลายแห่ง ทั้งในโครทัน ( Croton) , ทาเรนทัม ( Tarentum )
,และ เมทาพอนทัม ( Metapontum ) โดยทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของ เมืองแมกน่า กราเซีย (Magna Graecia) (เป็นชื่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของอิตาลีบนอ่าว ทาเรนไทน์ (Tarentine )
ที่มีการแผ่ขยายอาณานิคมโดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวกรีก ) เป็นไปได้อย่างมากที่ว่า
เขามาจาก โครทัน (Croton ) ซึ่งเขาอาจจะหนีมาจากการเผาที่ประชุมพีทาโกรัสครั้งที่สองราวปี
454 ก่อนคริสต์กาล หลังจากที่เขาอพยพเข้ามาในกรีก
ตามบทสนทนาของเพลโตที่ชื่อ Pheaedo (Plato's Phaedo) ได้ระบุไว้นั้น ซึ่งในขณะนั้นเพลโต เป็นอาจารย์ของ Simmias และ Cebes ที่กรุงธีบส์ (Thebes) ในปี 399 ก่อนคริสต์ศักราช ทำให้เขาได้อยู่ร่วมสมัยกับโสกราตีส และเห็นด้วยกับคำพูดของ ฟีโลลาอุส (Philolaus) กับ เดโมเครตุส (Democritus) มีรายงานหลายฉบับเกี่ยวข้องกับชีวิตของเขากระจัดกระจายอยู่ตามงานเขียนต่างๆ
นักเขียนรุ่นถัดมาได้มีการตั้งข้อสงสัยในการฟื้นฟูคุณค่าชีวิตของเขา ในช่วงเวลาที่เขามีชีวิตอยู่ ซึ่งมีบางส่วนปรากฎเห็นได้ชัดว่า บางครั้งที่ ฮรีราเครีย (Heraclea (Heraclea Island in the Aegean Sea, today called Iraklia or Irakleia)) เป็นที่เขาเคยเป็นนักเรียนของ สถาบันAreses หรือ Arcesus (ที่ Plutarchเรียก) บทสนทนา Laertius เป็นสิ่งเดียวที่ยืนยันว่า เพลโต (Plato) เคยเดินทางไปอิตาลีและได้พบกับ ฟีโลลาอุส (Philolaus) และอูไรทัส (Eurytus)
จากสิ่งที่ปรากฎพบว่า ลูกศิษย์ของ ฟีโลลาอุส (Philolaus) ได้กล่าวถึงคำพูดว่าต้องรวมถึง Xenophilus, Phanto, Echecrates,Diocles และ Polymnastus ด้วย ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่เพลโต (Plato) ตายได้ไม่นาน ในขณะที่ ฟีโลลาอุส(Philolaus) ตายนั้น บทสนทนา Laertius ถูกสงสัยว่าเรื่องราวที่เขาได้ถูกปลิดชีวิตจากพวกเผด็จการที่โครทัน(Croton) ซึ่งเป็นเรื่องราวในบทสนทนา Laertius ได้นำเอาปัญหานี้แรกอยู่ในบทกวีของเขาอีกด้วย
ฟีโลลาอุส (Philolaus) ได้เสนอแนวความคิดว่า ในอวกาศมีทิศทางที่คงที่ และได้พัฒนาแนวคิดอีกหนึ่งคือ โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล แนวคิดใหม่ของเขาค่อนข้างที่จะปฏิวัติสมมุติฐานทางดาราศาสตร์ ซึ่งเขาเรียกว่า “ศูนย์กลางแห่งไฟ “ ฟีโลลาอุส (Philolaus) ได้กล่าวว่า มีดวงไฟใหญ่อยู่ตรงกึ่งกลาง และมีไฟอยู่สูงที่สุดอีก และจากนั้นก็จะมีทุก ๆ อย่างล้อมรอบ โดยธรรมชาติ ตรงกลางคือจุดเริ่มต้น และรอบ ๆมันก็จะล้อมรอบไปด้วยวัตถุทั้ง 10 ในท้องฟ้า หรือ ดาวเคราะห์นั่นเอง
ดังนั้นเขาจึงเริ่มต้นนับ วัตถุทั้ง 10 ในท้องฟ้า ด้วยการเริ่มนับจาก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ โลก และสิ่งที่สวนทางกับโลก จากทั้งหมด
หัวใจของดวงไฟนั้นซึ่งอยู่กับที่ ที่ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง จุดสูงสุดที่ถูกล้อมรอบคือธาตุทั้งหลาย
ที่บริสุทธิ์ เขาเรียก โอลิมปัส ( Olympus) ว่าอาณาเขตใต้เส้นวงโคจรของโอลิมปัส ( Olympus) ก็คือ ดาวเคราะห์ทั้ง 5 รวมถึง ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ด้วย
ส่วนที่เรียกว่า โลก ก็คือส่วนที่อยู่ใต้โอลิมปัส
( Olympus) และอยู่ใต้ดวงจันทร์
และเขาเห็นว่ารอบ ๆ โลกนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลง ก็เลยเรียกว่า ท้องฟ้า (
Sky )
ในระบบทรงกลมฟ้าที่มีดาวฤกษ์ของ
ฟีโลลาอุส ( Philolaus ) จะประกอบด้วยดาวเคราะห์
5 ดวง รวมทั้ง อาทิตย์ จันทร์ และโลก ทั้งหมดเคลื่อนที่รอบดวงไฟใหญ่
ตามบทประพันธ์ของ อริสโตเติ้ล ชื่อ Metaphysics ฟีโลลาอุส
( Philolaus ) ที่ได้เพิ่มดาวดวงที่
10 ที่ยังไม่เคยเห็น ซึ่งเขาเรียกว่า Counter – Earth และถ้าไม่มี Counter –
Earth ก็จะมีเทหวัตถุ 9 สิ่งโคจรอยู่ และตามทฤษฏีของพีทาโกรัส ซึ่งยังต้องการดวงที่ 10
อย่างไรก็ตาม ตามที่นักวิชาการชาวกรีก
ชื่อ จอร์จเบิร์ช ( George Burch )
อริสโตเติล ( Aristotle )ได้กล่าวถึงความคิดของ ฟีโลลาอุส (Philolaus ) ว่า “ความจริงแล้ว ความคิดของฟีโลลาอุส ( Philolaus ) ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะรู้จักทรงกลมฟ้าเป็นร้อยๆ ปี หรือ เกือบสองพันปี “ หลังจากที่ นิโครัส โคเปอร์นิคัส ( Nicolaus Copernicus ) ได้ชี้ให้เห็นในหนังสือ De revolutionibus ว่า ฟีโลลาอุส ( Philolaus ) ได้รู้แล้วว่า โลกโคจรรอบดวงไฟใหญ่
กล่าวโดยสรุปคือ ฟีโลลาอุส (Philolaus) มีแนวความคิดว่า "โลกมีการโคจรรอบดวงไฟใหญ่ดวงหนึ่ง (แต่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์) และทำให้เห็นว่าวัตถุท้องฟ้าทั้งหลายมีการเคลื่อนที่ไปรอบๆ โลกและเป็นคาบที่แน่นอนในแต่ละวัน แต่เขาไม่สามารถตอบได้ว่า ดวงไฟใหญ่ที่ว่า นั้นคืออะไรและอยู่ที่ไหน ซึ่งในปัจจุบันนี้เราทราบกันดีแล้วว่า ปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าทั้งหลายในแต่ละวัน เป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก.
ขอบคุณ แหล่งข้อมูล และรูปภาพประกอบ
อริสโตเติล ( Aristotle )ได้กล่าวถึงความคิดของ ฟีโลลาอุส (Philolaus ) ว่า “ความจริงแล้ว ความคิดของฟีโลลาอุส ( Philolaus ) ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะรู้จักทรงกลมฟ้าเป็นร้อยๆ ปี หรือ เกือบสองพันปี “ หลังจากที่ นิโครัส โคเปอร์นิคัส ( Nicolaus Copernicus ) ได้ชี้ให้เห็นในหนังสือ De revolutionibus ว่า ฟีโลลาอุส ( Philolaus ) ได้รู้แล้วว่า โลกโคจรรอบดวงไฟใหญ่
กล่าวโดยสรุปคือ ฟีโลลาอุส (Philolaus) มีแนวความคิดว่า "โลกมีการโคจรรอบดวงไฟใหญ่ดวงหนึ่ง (แต่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์) และทำให้เห็นว่าวัตถุท้องฟ้าทั้งหลายมีการเคลื่อนที่ไปรอบๆ โลกและเป็นคาบที่แน่นอนในแต่ละวัน แต่เขาไม่สามารถตอบได้ว่า ดวงไฟใหญ่ที่ว่า นั้นคืออะไรและอยู่ที่ไหน ซึ่งในปัจจุบันนี้เราทราบกันดีแล้วว่า ปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าทั้งหลายในแต่ละวัน เป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก.
ขอบคุณ แหล่งข้อมูล และรูปภาพประกอบ
1.wikipedia
2.หลักสูตร
“คัมภีร์สุริยยาตร์ ๒๕๕๐”ของมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์
บรรยายโดย อ.วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น