วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

รู้หรือไม่ 1.เรื่องประหลาดของอัจฉริยะ

                                                เรื่องราวประหลาดของความเป็นอัจฉริยะ

                คนที่เป็นอัจฉริยะ กับคนที่มีความผิดปกติทางสมอง บางครั้งก็แยกกันไม่ออก ไอคิวสูงไม่ได้หมายความว่า ฉลาดเสมอไป คนที่มีความจำเป็นเลิศ หรือ คิดเลขเก่ง เขาทำได้อย่างไร ?
            คนที่เป็นอัจฉริยะบางครั้งก็เกิดจากความผิดปกติของสมอง  เราเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มอาการของคนเก่ง  เป็นอัจฉริยะประเภทพิเศษที่มีปัญหาทางจิต ซึ่งพบว่าครึ่งหนึ่งของคนอัจฉริยะเป็นโรคออทิสติก เพราะสมองไม่ได้พัฒนาเหมือนอย่างกับเด็กทั่วไป  มักจะมีโลกส่วนตัว ไม่สื่อสารกับผู้อื่น  และมีปัญหาในการทำความเข้าใจ แต่ 1 ใน 10 ของเด็กออทิสติก กลับมีความจำที่ดีเยี่ยม  มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรี คณิตศาสตร์ หรือ ศิลปะ จนน่าทึ่ง

อัจฉริยะทางฟิสิกส์

 กลุ่มอาการของคนเก่งไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กออทิสติกเท่านั้น  แต่อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแปรปรวนทางสมองประเภทอื่น ๆ และบางครั้งอาจเกิดจากอุบัติเหตุอีกด้วย
พลังสมองของมนุษย์มาจากไหน เชื่อหรือไม่ว่า มนุษย์เราทุกคนเป็นอัจฉริยะ  เพราะเราเป็นมนุษย์ในสกุล โฮโมเซเปียนส์  ทำให้เราพูดได้ สามารถจัดการกับปัญหา  รวมถึงคิดเลขได้ ความมหัศจรรย์เช่นนี้มีเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่ทำได้  แต่อะไรในสมองที่ทำให้เราทำได้ขนาดนี้  นักชีววิทยาเชื่อว่า เรื่องนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับ คอร์เทกซ์ (Cortex) เนื้อชั้นนอกของสมองที่พบในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง   สมองมนุษย์มีการพัฒนาจนกลายเป็นรอยหยัก เส้นคดเคี้ยวและม้วนตัวอยู่บนพื้นผิวของสมอง 

อัจฉริยะทางจิตรกร

จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง พบว่า คอร์เทกซ์ บางส่วนของพวกเขาถูกทำลาย ส่งผลให้สูญเสียความทรงจำ รวมถึงความสามารถทางด้านต่าง ๆ ทั้งหมดนี้พิสูจน์ได้ว่า คอร์เทกซ์ เกี่ยวข้องกับการทำงานขั้นสูงของสมอง แล้ว
 คอร์เทกซ์ มีความพิเศษอย่างไร ขนาดของมันสามารถอธิบายอะไรได้หรือไม่  การที่คอร์เทกซ์มีขนาดใหญ่ หมายความว่า มันมีเซลส์ประสาทอยู่มาก  และยังมีวงจรมากมายอยู่ระหว่างเซลส์ประสาทอีกด้วย  แต่นักวิจัยชาวฮังการี กลุ่มหนึ่งได้ค้นพบบางสิ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับจำนวนเซลส์ของประสาทใน คอร์เทกซ์  เพราะพวกเขาตรวจพบเซลส์ ที่แตกกิ่งก้านคล้ายกับโคมไฟแชเดอเลียร์  พวกเขาจึงเรียกว่า เซลส์แชนเดอเลียร์ (chandelier  cell ) ซึ่งเซลส์เหล่านี้เชื่อมต่อกับเซลส์ประสาทหลายร้อยตัว ขณะกระตุ้นเซลส์แชนเดอร์เลียเพียงตัวเดียว

อัจฉริยะแห่งสงคราม

ซึ่ง เซลส์แชนเดอเลียร์ มันสามารถส่งกระแสประสาทไปให้เซลส์ประสาทในเครือข่ายที่มีจำนวน สูงสุดได้ถึง 500 ตัว พวกเขาจึงสรุปวา เพราะเซลส์แชนเดอเลียร์ เหล่านี้เองทำให้การกระตุ้นเพียงเล็กน้อย กลับแพร่กระจายไปทั่วสมอง โดยอาศัยเครือข่ายที่ซับซ้อนของเซลส์ประสาทซึ่งกระจายอยู่ ทำให้สมองของคนเรามีประสิทธิภาพดีกว่าสัตว์ประเภทอื่น


มีคำกล่าวว่า อัจฉริยะกับคนบ้า ใกล้กันนิดเดียว 

 วินเซนต์ แวนโก๊ะ  Vincent van Gogh ( เป็นชาวดัตช์ เกิดในปีค.ศ.1853 – ค.ศ. 1890)  จิตรกรเอกของโลก เขาฆ่าตัวตายเมื่ออายุ 37 ปี เพราะอาการประสาทกำเริบ แวนโก๊ะ ต้องทนทุกข์ทรมานกับปัญหาทางจิตเป็นอย่างมาก  สองปีก่อนหน้านั้น เขาถือมีดโกนหนวดไปข่มขู่โกแกง เพื่อนรักของเขาก่อนที่จะลงมือตัดหูข้างหนึ่งของตัวเองออก  แล้วนำไปให้หญิงโสเภณีคนหนึ่ง เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปีค.ศ.1888 หรือ พ.ศ.2431 และเขาได้วาดภาพตัวเองไว้จนกลายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงมากในเวลาต่อมา  

เขาวาดภาพตัวเอง ในปีค.ศ. 1888 หรือ พ.ศ.2431 เป็นภาพดิมเพรสชั่นนิส อยู่ในพิพิธภัณฑ์แวนโก๊ะ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

          เรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะศิลปินเท่านั้น แต่ยังมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายคนที่สัมผัสกับความบ้ามาแล้ว
            จอห์น แนช ชาวอเมริกันที่มีการนำชีวประวัติของเขาไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง A Beautiful  Mild อัจฉริยะผู้คลั่งไคล้คณิตศาสตร์ผู้นี้ เริ่มฉายแววในหน้าที่การงาน ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูแซตส์ ในปี ค.ศ.1950 หรือ พ.ศ. 2493 เขาก็กลายเป็นคนน่าเอือมระอา ทะนงตน ก้าวร้าว และในปีค.ศ.1959 หรือ พ.ศ.2502 ขณะนั้นเขามีอายุ 31 ปี พฤติกรรมของเขาเริ่มส่อให้เห็นอาการของโรคจิตเภท (SchiZophrenia มาจากคำภาษากรีก skhizein  หมายถึง ตัดแบ่ง  และ phren หมายถึง วิญญาณ ซึ่งรวมกันแล้ว หมายถึง โรคทางจิตที่ทำให้เกิดอาการเพ้อและบุคลิกแปรปรวน รู้สึกว่าตัวเองคือคนแปลกหน้า) อย่างชัดเจน เช่น อาการหวาดระแวง ระวังภัยจากรอบด้าน และเห็นภาพหลอนตลอดเวลา เขาพยายามรักษาตัวอยู่หลายครั้ง ถึงแม้จะยังไม่หายขาดจากโรคที่ยังคงมองเห็นภาพหลอนอยู่ แต่เขาก็เลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่กับอาการนั้น และดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ แต่โรคร้ายก็ทำให้เขาถูกไล่ออกจากงาน  บรรดานักคณิตศาสตร์ต่างถกเถียงกันอย่างมาก ก่อนจะตกลงมอบรางวัลโนเบลให้แก่เขาเมื่อ ค.ศ.1994 หรือ พ.ศ.2537 สำหรับทฤษฏีเกม (Theory of Games) ซึ่งเป็นทฤษฏีทางคณิตสาสตร์ประยุกต์ที่เป็นพื้นฐานของการเล่นเกมต่าง ๆ เช่น เกมหมากรุก เขาเป็นผู้ตั้งขึ้น ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่


จอห์น  แนช


            คูร์ท เกอเดิล นักคณิตศาสตร์ ผู้เขียนทฤษฏีบททางคณิตศาสตร์ เสียชีวิตลงเพราะความหิวโหยเมื่อปีค.ศ.1978 หรือ พ.ศ.2521 เนื่องจากหวาดระแวงว่าจะถูกวางยาพิษ
ดูร์ท เกอเดิล

            ลุดวิก โบลต์ชมันน์ นักฟิสิกส์ หนึ่งในบุคคลกลุ่มแรก ๆ ที่สนับสนุนความคิดที่ว่า อะตอมมีอยู่จริง ป่วยเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว ซึ่งมีความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดเขาก็ฆ่าตัวตายสำเร็จเมื่อ ปีค.ศ.1906 หรือ พ.ศ.2449
ลุดวิก โบลต์ชมันน์


            เกออร์ก คันทอร์ นักคณิตศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียงจากการค้นคว้าเรื่องจำนวนเชิงอนันต์ หลงคิดว่าตัวเองเป็นผู้นำสารของพระเจ้า และใช้ชีวิตในวาระสุดท้ายอยู่ในโรงพยาบลประสาทแห่งหนึ่ง
เกออร์ก ดันทอร์
เราจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัจฉริยะกับคนบ้าได้อย่างไร


“แน่นอนว่าคนเหล่านี้มักมีความรู้สึกในช่วงชีวิตหนึ่งว่าตัวเองเป็นเจ้าโลก”  แนนซี แอนเดรียเซน จิตแพทย์หญิงชาวอเมริกันให้คำตอบ “ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาคิดแตกต่างจากผู้อื่น และทำตัวผิดแผกออกไป โดยมีแนวโน้มที่พวกเขาจะมีพฤติกรกรมที่สุดโต่ง แต่ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุป เพราะการเป็นอัจฉริยะไม่จำเป็นต้องเป็นคนบ้าเสมอไป”

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ

นิตยสาร Go  Genius  ปีที่ 5  ฉบับที่ 49 พฤษภาคม 2552
วิกีพีเดีย
          http://www.pinterest.com/jidapa88/art/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น