วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

ดินแดนที่ยอดเยี่ยมของโลก 2.Stonehenge สโตนเฮนจ์

                ดินแดนลึกลับมีอยู่มากมายบนโลกใบนี้ ทิ้งปริศนาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ครุ่นคิด หาเหตุผลของการสร้าง ว่าทำไม ใครสร้าง สร้างได้อย่างไร ใช้เครื่องมืออันใดมาสร้าง แล้วจุดประสงค์หลักของการสร้าง ๆ เพื่ออะไร หรือสร้างมาเพื่อประกอบพิธีกรรมที่ต้องใช้เวทมนต์คาถาที่มีอยู่จริงในอดีต  หรือมันเป็นเกมที่ชนรุ่นเก่าทิ้งไว้ให้ชนรุ่นใหม่ได้เล่นเกมกระดานนี้ต่อ  หรือ เพื่อให้ศตวรรษใหม่ของพวกเราสานต่องานที่ยังสร้างไม่เสร็จเพื่อเชื่อมโยงปริศนาจากดวงดาวมายังโลกเพื่อ หาว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร โดยเฉพาะมนุษย์ ? สถานที่แรกที่แนะนำไปสืบค้นหาขอไกลตัวไปนิดนะ นั่นคือ

1. “สโตนเฮนจ์”  ( Stonehenge )  ปริศนาที่รอการพิชิตคำตอบสุดท้าย
  
              สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )  ดินแดนลี้ลับที่ซ่อนปริศนามายาวนานหลายศตวรรษ   ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมากมาย  สร้างมาเพื่อทำการสิ่งใด?  สร้างมาทำไม?   ใครเป็นผู้สร้าง? แล้วสร้างได้อย่างไร? หลายคนเชื่อว่าเป็นสถานที่ดูดาวบ้าง  หรือแม้กระทั่งเป็นที่จอดยานของมนุษย์ต่างดาว



             สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) ตั้งอยู่กลางทุ่งราบกว้างใหญ่บนที่ราบ ซาลิสบอรี่ (Salisbury Plain) เมืองวิลต์เชียร์  ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ  นักโบราณคดีเชื่อว่า กลุ่มกองหินเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า 5,000 ปี  
ประกอบด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ จำนวน 112 ก้อนซึ่งแท่งหินแต่ละแท่งมีน้ำหนักกว่า 30 ตันขึ้นไป  ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง ซึ่งแต่แท่งวางตั้งขึ้นบ้าง นอนราบบ้าง และบางอันก็ถูกวางซ้อนทับกัน



            ทำให้นักวิทยาศาสตร์ และ นักประวัติศาสตร์ ตั้งข้อสงสัยว่า วางเรียงกันได้อย่างไร ทั้ง ๆที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และ บริเวณที่ราบดังกล่าวไม่มีก้อนหินขนาดมหึมานี้ อยู่เลย  จึงสันนิษฐานว่า  ต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมดนี้มาจากที่อื่น ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจาก “ทุ่งมาร์ลโบโร”  ( Marlborough Downs) ที่อยู่ห่างไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตร และยังพบหินสีน้ำเงินขนาดหนัก 4 ตัน ซึ่งจะพบได้บริเวณภูเขาเพรสเซลลี่ (Presscelly) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลส์ ซึ่งอยู่ห่างไปหลายร้อยไมล์


             การก่อสร้างสโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) ใช้เวลาสร้างต่อเนื่องกันมายาวนานถึง 3 – 4 ระยะ ในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี ซึ่งคำนวณจากหินแต่ละก้อนแต่ละชั้นที่มีอายุไม่เท่ากัน  และดูเหมือนว่าจะมาจากต่างยุคกัน ตั้งแต่ยุคหินตอนปลาย จนถึงยุคสำริดตอนต้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2002 หรือ พ.ศ.2545 ได้มีการค้นพบแผ่นทองเหลืองแบบกลม บนเนินเขาทางตอนกลางของประเทศเยอรมันนี   แผ่นทองเหลืองแบบกลมนี้ ได้แสดงภาพของท้องฟ้าซึ่งประกอบไปด้วยดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ดวงใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานว่าแผ่นทองเหลืองแบบกลมนี้น่าจะถูกสร้างในยุคยุคนีโอลิทิก (Neolithic) หรือเรียกว่ายุคทองเหลือง และมีอายุเทียบเท่ากับช่วงสุดท้ายของการก่อสร้าง สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )

            ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าก่อนจะหันมาบูชาดวงอาทิตย์ มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เคยบูชาดวงจันทร์มาก่อน จึงเป็นเหตุให้มีการแบ่งการก่อสร้าง สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) ออกเป็น 3 ช่วง ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 2.5 ล้านปีก่อน คือยุคหินเก่า หรือ ยุคพาเลียโอลิทิก ( The Paleolithic )  ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ หรือ ยุคนีโอลิทิก (Neolithic) หรือเรียกว่ายุคทองเหลือง และถือว่า สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) เป็นสิ่งปลูกสร้างที่สมบูรณ์แบบที่สุด
          




              หลังจากนั้นอีก 6 ปี คือในปี ค.ศ.2008 หรือ ปีพ.ศ.2551 ได้มีทีมนักวิจัย ที่นำโดยไมก์ พาร์กเกอร์ เพียร์สัน  จากมหาวิทยาลัยเซฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ ได้พิสูจน์โครงกระดูกของมนุษย์โบราณที่ขุดค้นพบในบริเวณที่ตั้งของ สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) โดยใช้กัมมันตภาพรังสีในรูปของคาร์บอนมาคำนวณหาอายุของอินทรียวัตถุ (Radiocarbon) พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่ประกอบพิธีศพของกลุ่มชนชั้นสูงในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และเผยให้เห็นว่าหินก้อนแรกถูกวางตั้งเมื่อประมาณ 2,400 – 2,200 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งรวมอายุทั้งหมดน่าจะประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล บริเวณดังกล่าว ถูกขุดเป็นร่องดินและกำแพงดินล้อมเป็นวงกลม มีหลุมอยู่ 56 หลุม ภายในบรรจุไม้ไว้ ต่อมาจึงมีการเรียงหินขนาดต่าง ๆกันขึ้นไป จนกลายเป็นสโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) ในปัจจุบัน

            สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) และบริเวณโดยรอบได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี ค.ศ.1986 หรือ ปีพ.ศ. 2529  และยังถูกจัดให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก อีกด้วย

             ถึงแม้ผลการพิสูจน์โครงกระดูกที่ถูกขุดมาจากบริเวณ สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) จะบ่งชี้ว่าเคยถูกใช้เป็นสุสาน ก็ไม่ได้หมายความว่า นั่นคือ จุดประสงค์แรกของการสร้าง สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) เพียงอย่างเดียว  มีข้อสันนิษฐานในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เชื่อว่าเป็นวิหารที่พวกลัทธิครูอิดใช้ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์ และการบูชายัญมนุษย์ ซึ่งจากแนวความคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะสโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )นั้นสร้างเสร็จอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวจะเฟื่องฟู


             อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง คือ ใช้เป็นสถานที่รักษา ซึ่งทีมนักวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงและดนตรีจากมหาวิทยาลัย ฮัดเดอร์ฟิลด์ ได้ค้นพบว่า แท่งหินมหึมาที่ตั้งเรียงตัวเป็นวงกลมเหนือเนินดิน สามารถสะท้อนเสียงได้อย่างวิเศษ คาดว่าดนตรีที่เล่นกันบริเวณ สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) คงเป็นเพลงที่มีจังหวะธรรมดาซ้ำ ๆ และให้สะท้อนก้องอยู่ในบริเวณนั้น ตรงกันกับเทคโนโลยีกลศาสตร์นาโน ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยปรับปรุงงานวิจัยด้านการแพทย์  การผ่าตัด และการผลิตอาหาร


            อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือ สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) ถูกสร้างเพื่อศึกษาด้านดาราศาสตร์ สำหรับไว้สังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า เช่น การเกิดสุริยุปราคา และการเกิดจันทรุปราคา  เพื่อนำมาเป็นเครื่องคำนวณซึ่งใช้ในการทำปฏิทินดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพราะแนวของก้อนหินกลุ่มต่าง ๆ ถูกจัดเรียงตามความสัมพันธ์กับแนวการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ นักโบราณคดีแบบดั้งเดิมได้สันนิษฐานว่าวัตถุประสงค์สำคัญของ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge )ถูกสร้างมาเพื่อต้องการให้ประชาชนได้เห็นถึง ความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในแง่มุมใหม่ ๆซึ่งต้องใช้การสังเกตที่ยาวนาน  และยังเป็นศูนย์รวมการนัดพบกันเพื่อชมพระอาทิตย์ขึ้น ในท่ามกลางฤดูร้อน และยังคงสืบทอดประเพณีนี้ ซึ่งในขณะนั้น ดวงอาทิตย์ได้ถูกกำหนดหน้าที่ขึ้นมา คือ เป็นวิหารแห่งดวงอาทิตย์ และอีกส่วนหนึ่งไปเป็นปฏิทินแสงแดด


    นักโบราณคดีเชื่อว่า สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) ถูกโยงให้มีความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์  เกี่ยวโยงกับเพศ ซึ่งดวงจันทร์ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับเพศหญิง และดวงอาทิตย์ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับเพศชาย  ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่า สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) อาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเทิดทูนเทพีแห่งดวงจันทร์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบว่า ตำแหน่งของดวงจันทร์ จะเปลี่ยนไประหว่างขั้วโลกเหนือ และ ขั้วโลกใต้ และที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งคือ สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )  สามารถดักจับแสงของดวงจันทร์ที่กำลังจะลับขอบฟ้า


   ผ่านหน้าต่าง สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )ได้ทุก ๆเดือนใน 1 ปี  และ ควบคู่ไปกับ การเทิดทูนเทพแห่งดวงอาทิตย์ จนปัจจุบัน เรายังไม่รู้วัตถุประสงค์ที่แท้จริง และยังไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สร้าง สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )ยังคงเป็นปริศนาให้แกะรอยตามหากันต่อไป

                ขอบคุณแหล่งข้อมูล และรูปภาพประกอบ

      นิตยสารส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ Go Genius ปีที่ 4 ฉบับที่ 40 สิงหาคม 2551  ในเครือบริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด
       wikipedia
       www.pantip.com
       www.truelife
       www.pinterest.com





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น